วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565

10 สัญญาณเตือนภัย “ไตวาย”

 สมัยนี้ใครๆ ก็ทราบดีว่าหากไม่อยากเป็นโรคไต ก็อย่ากินเค็ม หรือลดอาหารรสจัด แต่หากเราดำเนินชีวิตต่อไปเรื่อยๆ กินอาหารดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เมื่อไรล่ะที่เราจะรู้สึกตัวว่า เราอาจกำลังเข้าสู่ภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคไต ให้ข้อสังเกตกับตัวคุณว่า หากมีอาการแบบนี้ รีบไปพบแพทย์ด่วนๆ เลย

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2565

5 สัญญาณอันตราย เสี่ยง “ต้อลม”

คุณผู้หญิงคุณผู้ชายที่ปัญหากับค่าสายตา จนต้องใส่แว่น หรือคอนแทคเลนส์อยู่เป็นประจำ รวมไปถึงหนุ่มสาววัยรุ่น และชาวออฟฟิศที่ใช้สายตาอยู่หน้าจอคอมมากเกินไป อาจเคยมีอาการเคืองตา ตาแห้ง แสบตามาบ้างใช่ไหมคะ บางทีอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือน “โรคต้อลม” ที่อาจต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็ได้

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2565

“หูด” โรคผิวหนังที่พบบ่อย มีกี่ชนิด พร้อมสาเหตุ-วิธีรักษา

 โรคหูด เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยไม่จำกัดเพศ และอายุ แม้ว่าจะไม่ได้อันตรายมากนัก แต่ต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มิฉะนั้นอาจเป็นแผลติดเชื้อที่หนักกว่าเดิม รักษายากกว่าเดิมได้

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565

สี "น้ำมูก" บอกโรค

 สีของน้ำมูก สามารถบอกเราได้ไหมว่ากำลังเป็นโรคอะไรอยู่ นอกจากหวัด อ.นพ.ธิติวัฒน์ ศรีประสาธน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า สีของน้ำมูก สามารถบอกได้ว่าเรากำลังเป็นโรคบางชนิด แต่ไม่สามารถระบุได้ทุกโรค เพราะน้ำมูกเป็นสารคัดหลั่งที่ออกมาจากจมูกเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกายที่รับเข้ามาจากการสูดอากาศภายนอกเมื่อเราหายใจ หากมีการติดเชื้อก็ทำให้น้ำมูกผลิตออกมามากกว่าปกติ

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

4 สาเหตุอาการ "อับชื้น" ในร่มผ้า

 ในฤดูฝน หรือการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาอับชื้นในร่มผ้าของคุณผู้หญิงได้โดยไม่ทันรู้ตัว มีข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุของอาการอับชื้นในร่มผ้าจาก อ.พญ.ณัฏฐ์กฤตา โพธิพรธวัฒน์ ฝ่ายสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาฝากกัน

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

8 อาการส่ออันตราย มีพยาธิในท้อง

 นอกจากคนที่กินจุแต่ผอมแล้ว ไม่ว่าคุณจะมีรูปร่างแบบไหน ก็เสี่ยงที่จะมีพยาธิในท้องด้วยกันทั้งนั้น เพราะพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่สะอาด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ มักเสี่ยงมีพยาธิติดมาด้วยเสมอ ใครที่กำลังไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังเสี่ยงมีพยาธิหรือเปล่า ก่อนทานยาถ่ายพยาธิอย่างจริงจัง ลองสังเกตอาการของตัวเองก่อนดีกว่า เรามีสัญญาณอันตรายจากอาการของคนที่พยาธิอยู่ในท้องหรือไม่

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

อุจจาระเป็นเลือด เสี่ยง 6 โรคร้ายสุดอันตราย

 ก่อนหันไปกดชักโครก คุณควรหันไปสังเกตลักษณะของอุจจาระของคุณบ้าง เพราะสุขภาพของเราสามารถตรวจได้ง่ายๆ จากอุจจาระนี่แหละ ไม่ว่าจะเป็นขนาด สี กลิ่น หรือลักษณะที่เห็นได้จากภายนอก

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

จริงหรือไม่ "ปวดท้องด้านซ้ายบน" สัญญาณโรคหัวใจ

 อาจมีบางคนเคยได้ยินมาว่า อาการปวดท้องด้านซ้ายบน อาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคหัวใจ จริงๆ แล้วอาการปวดท้องมีความเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจหรือไม่

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565

"เจ็บหน้าอก" สัญญาณอันตรายของหลายโรคร้าย

อาการ เจ็บหน้าอก เป็นสิ่งที่ไม่ควรเพิกเฉยด้วยประการทั้งปวง หลายคนมักคิดว่า อาการเจ็บหน้าอกเป็นอาการของโรคหัวใจ แต่อาการนี้อาจบ่งชี้ถึงอาการโรคอื่นๆ ที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เช่น โรคเกี่ยวกับปอด หลอดอาหาร ซี่โครง เส้นประสาท ล้วนนำไปสู่อาการเจ็บหน้าอกได้ บทความนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการเจ็บหน้าอก เพื่อที่คุณจะสามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาได้ทันท่วงที

“ปัสสาวะบ่อย” สัญญาณ 8 โรคอันตรายที่อาจคาดไม่ถึง

 ก่อนจะเป็นโรคใดๆ ก็ตาม มักจะมีอาการอะไรบางอย่างที่แสดงให้เรารู้ถึงความผิดปกติของร่างกาย มีแต่เรานี่แหละที่จะมองว่าเป็นอาการเล็กๆ น้อยๆ เดี๋ยวก็หาย จนทำให้เราละเลยที่จะใส่ใจสุขภาพของตัวเอง กว่าจะรู้ตัวก็อาจจะสายเกินไป

“กลั้นปัสสาวะ” อาจเสี่ยง “ติดเชื้อในกระเเสเลือด”

 นอกจากโรคติดเชื้อ COVID-19 ที่กำลังเฝ้าระวังกันอย่างยิ่งในปัจจุบัน ปัญหาการติดเชื้อในกระแสเลือด ก็ยังคงเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิต โดยเกิดได้ทั้งจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย เพียงการกลั้นปัสสาวะ ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2565

4 สาเหตุอาการคันจาก “อับชื้นในร่มผ้า” ของคุณผู้หญิง

 หากรู้สึกคันยุบยิบบริเวณจุดซ่อนเร้นจนอยากจะเกาอยู่บ่อยๆ ลองดูว่ามีสาเหตุอะไรที่ต้องรีบรักษาหรือไม่

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565

วิธีรักษา “ไมเกรน” โดยไม่ต้องพึ่งยา

 นวด ประคบ ฝังเข็ม กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทําให้จํานวนครั้งของอาการปวดลดลง รวมทั้งระดับความปวดลดลงได้ด้วย จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ลดการใช้ยาของผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2565

“เหงือกบวม” อาการแบบไหน ควรพบแพทย์

 เหงือกบวม อาจจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ และหายเองได้ แต่อาการแบบไหนที่ควรต้องรีบพบทันตแพทย์

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2565

"ข้อเท้าแพลง" กับอันตรายแฝงที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน

 หลายคนอาจจะคิดว่า แค่ข้อเท้าแพลง แปปเดียวก็หาย แต่จริงๆ แล้วอาจแฝงอันตรายที่เราอาจไม่ทันระวังได้

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565

เช็ก 5 ลักษณะของ “ไฝ” ที่อันตราย เสี่ยง “มะเร็ง”

 ลองเช็กดูไฝของเราให้ดี โดยเฉพาะไฝที่เกิดขึ้นใหม่ หรือไฝเดิมที่มีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม เพราะอาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคมะเร็งได้

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565

"กลั้นปัสสาวะ" เสี่ยงโรคอะไร

 กลั้นปัสสาวะบ่อยๆ อาจเป็นนิสัยของใครหลายคนในยุคสมัยนี้ที่อาจติดงาน ติดเรียน รถติดอยู่บนท้องถนน และด้วยเหตุผลที่จำเป็นอื่นๆ แต่การกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่คิด

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2565

เป็นโรคไต ห้ามกินอะไร แล้วควรกินอะไร

 โรคไต เป็นโรคที่คนไทยหลายคนกำลังประสบพบเจอ เป็นโรคที่เกิดจากอาหารการกินที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และไม่ถูกหลักโภชนาการ การทานอาหารที่ไม่มีความสมดุล ทานบางอย่างมากเกินไป สะสมนานวันเข้า สุดท้ายอาจเป็นโรคไตได้

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2565

“ไข้หวัดมะเขือเทศ” คืออะไร อันตรายแค่ไหน ป้องกันอย่างไร

 พบผู้ป่วยโรค “ไข้หวัดมะเขือเทศ” ที่ประเทศอินเดีย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อาการเริ่มต้นจะคล้ายไข้หวัด คือมีไข้ ปวดเมื่อยตัว ซึ่งอาการจะไม่รุนแรงและหายเองได้ ขณะนี้ยังไม่มีรายงานการพบผู้ป่วยในประเทศไทย

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2565

"ได้ยินไม่ชัด" อาจเป็นสัญญาณอันตราย "ประสาทหูชั้นในเสื่อม"

 อาการ “ได้ยินไม่ชัด” อาจไม่ใช่แค่หูตึง และไม่ได้เป็นกับผู้สูงอายุเท่านั้น ในวัยอื่นๆ ก็อาจมีความเสี่ยงได้ และไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะการได้ยินไม่ชัดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และหนึ่งในนั้นอาจเป็น “ประสาทหูชั้นในเสื่อม”

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2565

“อีสุกอีใส” หากเคยเป็นแล้ว จะเป็นอีกได้หรือไม่

ที่ว่าหากเคยเป็นอีสุกอีใสครั้งหนึ่งแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันให้ไม่เป็นอีกเลยตลอดชีวิตนั้น จริงหรือไม่

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565

9 สัญญาณอันตราย “มะเร็งทางเดินอาหาร”

 มะเร็งทางเดินอาหารเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งที่สำคัญ ชนิดของมะเร็งทางเดินอาหารที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหารมะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งตับอ่อน โดยทั่วไปพบมะเร็งทางเดินอาหารได้บ่อยกว่าในเพศชาย และความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามอายุ 

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565

"มะเร็งรังไข่" ผู้หญิงอายุน้อย เป็นได้หรือไม่

 แม้จะพบได้เพียง 5% ของมะเร็งรังไข่ทั้งหมด ทว่า “มะเร็งรังไข่” ที่เกิดในผู้หญิงอายุยังน้อย นับเป็นภัยเงียบที่ไม่ควรประมาท หากมีความผิดปกติทางร่างกาย มีอาการปวดท้อง หรือคลำพบก้อนในช่องท้อง ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางให้เร็วที่สุด เพราะถ้ารู้เร็วก็สามารถเข้ารับการรักษาได้เร็ว และนำไปสู่โอกาสในการรักษาที่ได้ผลลัพธ์ที่ดี

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ปวดท้องแบบไหนเสี่ยงเป็น “ลำไส้อุดตัน”

ลำไส้อุดตัน อีกหนึ่งอันตรายที่พบได้มากขึ้นในคนไทย มีอาการที่บ่งบอกว่าอาจเสี่ยงโรคนี้ได้อย่างไรบ้าง

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2565

เตือน! กิน “ไข่พยาธิตัวตืด” ไม่ช่วยลดหุ่น อาจเสี่ยงตายได้

 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ไม่แนะนำพฤติกรรมเลียนแบบกรณีสาวชาวจีนรายหนึ่ง หวังลดหุ่น สั่งไข่พยาธิตืดวัวมากิน ย้ำเตือนกินพยาธิตัวตืดไม่ทำให้ลดหุ่น แต่เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ อาจทำให้เสียชีวิตได้

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2565

เด็กโตไว อย่าปล่อยผ่าน เสี่ยง “ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย”

 “เด็กสมัยนี้ โตไวมาก” คือคำที่ผู้ใหญ่หลายท่านมักใช้ทักทายลูกหลาน แต่รู้หรือไม่ว่า หากเด็กมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระมากกว่าปกติ ถือเป็นสัญญาณเสี่ยง “ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย” ที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการร่างกาย และสภาพจิตใจในอนาคต!

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ตุ่ม-ผื่นแบบไหน สงสัยเป็น “ฝีดาษลิง”

 อาการของโรคฝีดาษลิงที่สังเกตได้เป็นอันดับแรกๆ คือ มีไข้ และตุ่มหรือผื่นที่เกิดขึ้นในร่างกาย

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

รู้จักโรค “ลืมใบหน้า” จำหน้าคนรู้จักไม่ได้

 ภาวะจดจำใบหน้าไม่ได้ (Prosopagnosia) เป็นภาวะบกพร่องของสมองในการรับรู้และประมวลผล สูญเสียการจดจำใบหน้าอย่างสมบูรณ์

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

5 โรคอันตรายที่มากับ "ฝน"

 ช่วงที่ฝนตกหนักทุกวันแบบนี้ ระวังโรคที่มากับฝนเหล่านี้ด้วย


อ. นพ.วศิน เลาหวินิจ แพทย์ประจำฝ่ายเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุถึงโรคที่มักพบในหน้าฝนที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ดังนี้

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

6 อาการเตือน "แพ้ขนแมว" ทาสแมวควรระวัง

 ใครที่เลี้ยงแมว หมั่นสังเกตอาการของตัวเองอยู่เสมอ หากมีอาการเหล่านี้ อาจสันนิษฐานได้ว่าเรากำลังแพ้ขนน้องแมวเข้าแล้ว

วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

โควิด-19 โอมิครอน BA.4-BA.5 อาการเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน

 หลังอนุมัติให้มีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ในเดือนกรกฎาคม หลายคนคงรู้สึกสบายตัวขึ้นจากการอนุญาตให้สวมหน้ากากตามความสมัครใจ รวมไปถึงร้านกลางคืนก็ได้กลับมาปิดดึกกันอีกครั้ง แต่ถึงอย่างไรก็ตามเสียงกังวลจากกลุ่มแพทย์ด่านหน้ายังคงออกมาเตือนอยู่ตลอดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสมีสายพันธ์ุใหม่อย่าง โอมิครอน BA.4/BA.5 ที่ว่ากันว่าแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็วจนตอนนี้ผู้ติดเชื้อในไทยเกินกว่า 51.7%

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

แคะจมูกบ่อยๆ อาจเสี่ยงฝี-หนอง-แผลติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด

ใครที่ชอบแคะจมูก อ่านจะต้องหยุดอ่านสักนิด เพราะการแคะจมูกอาจส่งผลอะไรบางอย่างต่อร่างกายได้ โดยที่คุณเองก็คาดไม่ถึง

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

รู้หรือไม่ ติด โควิด-19 เสี่ยงเป็นเบาหวานตามมา

 ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานทั้งในช่วงติดเชื้อและหลังรักษาหายแล้วได้ โดยการเกิดเบาหวานหลังการติดเชื้อสามารถเกิดได้ทั้งคนที่ได้รับเชื้อในปริมาณมากและปริมาณน้อย ทั้งคนที่สุขภาพแข็งแรงก็มีความเสี่ยงไม่น้อยไปกว่ากัน

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

สาเหตุของ "นิ้วล็อก" และวิธีลดอาการปวดนิ้วด้วยตัวเอง

 นิ้วล็อก (Trigger finger) เป็นความผิดปกติของปลอกหุ้มเส้นเอ็นฝั่งกำมือ ที่มีการอักเสบ และเมื่อเรื้อรัง จะทำให้เป็นพังผืดขึ้น โดยปกติหน้าที่ของปลอกนี้จะมีเส้นเอ็นสไลด์ผ่าน เมื่อมีการเคลื่อนไหวกำหรือเหยียดมือ รวมถึงการใช้มือทำกิจวัตรต่างๆ ด้วยเนื่องจากมือเราต้องมีการเคลื่อนไหวและใช้งานค่อนข้างบ่อย เมื่อมีการอักเสบก็มักเรื้อรังเกือบทุกราย ซึ่งการเป็นนิ้วล็อกนั้น จะมีระยะของการบาดเจ็บอยู่ ตั้งแต่เริ่มอักเสบเพียงเล็กน้อย เริ่มมีอาการเจ็บตรงบริเวณโคนข้อนิ้วใดนิ้วหนึ่งหรืออาจหลายนิ้ว เวลากำมือ แล้วเหยียดไม่ออกจะรู้สึกดังตึกๆ ที่โคนนิ้วนั้น อาจจะเจ็บแปล็บๆ แต่ยังเหยียดได้  และอาจเป็นระยะที่มีการอักเสบจากการบาดเจ็บซ้ำๆ จนบวม แดง ร้อน และขยับกำเหยียดมือได้ลำบาก เพราะถ้าเป็นระยะนี้จะเจ็บมาก  บางเคสอาจเรื้อรังและเป็นพังผืดหนาตัวมาก จนกำแล้วเหยียดไม่ออกเลย

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

5 อาหารที่คนเป็น "ไมเกรน" ควรหลีกเลี่ยง

 5 อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเพราะมีส่วนกระตุ้นอาการปวดไมเกรนได้ ใช่แล้วนอกจากการจ้องคอมพิวเตอร์นานๆ แสง ไฟ เสียงดัง ความเครียด อาหารก็เป็นส่วนที่จะกระตุ้นการเกิดไมเกรนขึ้นมาได้ จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย 

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565

รู้จัก ภาวะบวมน้ำเหลือง อาการ และอันตรายต่อร่างกาย

 พูดถึง “น้ำเหลือง” หลายคนอาจนึกถึงแผลที่อักเสบน้ำเหลืองไหลหรืออะไรที่น่ากลัว ในบางรายอาจพบภาวะ “บวมน้ำเหลือง” ได้ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565

5 สัญญาณอันตราย "มะเร็งรังไข่"

 มะเร็งรังไข่ อาจอันตรายและน่ากลัวสำหรับผู้หญิง แต่มีอาการที่เป็นสัญญาณเตือนที่เราสังเกตได้อยู่ด้วย

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ใส่ผ้าอนามัยนานๆ เสี่ยง "มะเร็งปากมดลูก" จริงหรือ

 การใส่ผ้าอนามัยนานๆ ไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV และส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมาจากเพศสัมพันธ์ผ่านการสัมผัสผิวหรือเยื่อบุของอวัยวะเพศ

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2565

"ฝีดาษลิง" โรคระบาดที่คนไทยควรเริ่มระวัง

 ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง เป็นอีกโรคที่สร้างความกังวลให้หลายประเทศทั่วโลก เพราะมีเริ่มมีการแพร่กระจายเชื้อในหลายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาการจะคล้ายกับการเป็นอีสุกอีใส ที่สามารถแพร่ได้จากสัตว์สู่คนและจากคนสู่คน การรู้วิธีป้องกันและรักษาเบื้องต้นเมื่อมีการติดเชื้อจะเป็นอีกทางที่สามารถหยุดการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

“มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ” 4 กับอาการเริ่มต้นที่สังเกตได้

 มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ถือเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติ ของตนเอง หากพบว่ามีอาการผิดปกติเรื้อรังควรรีบปรึกษาแพทย์

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

3 โรคผิวหนังที่มักเกิดในหน้าร้อน พร้อมวิธีดูแล

 ผศ.พญ.มาริษา พงศ์พฤติพันธ์ หัวหน้าหน่วยผิวหนัง ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า แสงแดด ไม่ได้ให้แค่โทษกับผิวหนัง เพราะให้ทั้งวิตามินดี ที่ช่วยให้เรามีกระดูกที่แข็งแรง แต่ก็เป็นข้อดีที่มาพร้อมข้อเสีย เพราะแสงแดดทำให้ผิวหนังขาดความชุ่มชื้น ผิวหมองคล้ำ และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ในหน้าร้อนเราควรดูแลผิวหนังของเรามากเป็นพิเศษ

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ทำไมโรค "ตาแดง" ถึงระบาดในหน้าฝน-ช่วงน้ำท่วม

 กรมการแพทย์โดย รพ.เมตตาฯ แนะดูแลสุขภาพดวงตาในฤดูฝน โอกาสเกิดโรคภัยไข้เจ็บช่วงหน้าฝนเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่สุขภาพทั่วไป ในกลุ่มผู้มีอาการเป็นภูมิแพ้อากาศขึ้นตาเยื่อบุอักเสบ ตาแดง ไม่ควรมองข้ามเป็นได้อาจติดเชื้อแบคที่เรีย ไวรัส และภูมิแพ้ แนะหากมีอาการตาแดงผิดปกติควรรีบพบจักษุแพทย์ทันที

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

"ริดสีดวง" มีกี่แบบ รักษาอย่างไร

 ริดสีดวง เป็นโรคที่คนไทยหลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่อาจไม่ทราบว่าริดสีดวงมีหลายแบบ ไม่ได้มีแต่ริดสีดวงทวารเฉยๆ และอาจไม่ทราบถึงวิธีการรักษา

วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

จริงหรือไม่? อายุมากขึ้น "ส่วนสูง" อาจลดลง

 เมื่ออายุเข้าเลข 4 เลข 5 ไปจนถึงเลข 6 โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เริ่มถามหามากขึ้น ความผิดปกติต่างๆ ก็เริ่มโผล่มาให้เห็นอยู่เรื่อยๆ เรื่องที่หลายคนอาจสงสัยและเป็นกังวล หรือส่วนสูงที่หายไปเมื่อแก่ตัวลง เป็นเรื่องจริงหรือไม่ มีคำตอบจาก รศ.นพ.คนึงนิจ กิ่งเพชร แพทย์ประจำฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาฝากกัน

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2565

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2565

นวด “จัดกระดูก” ดีจริงหรือ ปลอดภัยแค่ไหน

ใครเคยได้ยินหรือเข้าใช้บริการนวดจัดกระดูกบ้าง มันดีต่อสุขภาพ หายปวดเมื่อยอย่างถูกวิธีจริงหรือ

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2565

"ผมร่วงเป็นหย่อม" สาเหตุ และวิธีรักษา

 การเจ็บป่วยทางกายนั้นเปรียบเหมือนแขกที่ไม่ได้รับเชิญ ในบางครั้งอาจส่งผลทางจิตใจต่อใครบางคนพอสมควร โดยเฉพาะโรคบางชนิดที่มีอาการเรื้อรัง ยากที่จะรักษาให้หายขาดได้ ในวันนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงโรคผมร่วง ที่มีอาการร่วงกระจายเป็นหย่อมๆ หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคผมร่วงเป็นหย่อม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังที่นอกจากจะทำให้เกิดความไม่สมบูรณ์ทางร่างกายแล้ว ยังบั่นทอนจิตใจผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้เป็นอย่างมาก

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2565

"เส้นเลือดฝอยในตาแตก" อันตรายแค่ไหน

 เส้นเลือดฝอยในตาแตก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะรู้สึกตกใจ เนื่องจากเวลาส่องกระจกแล้วเห็นว่ามีลักษณะปื้นของเลือดอยู่บริเวณเหนือตาขาว อาจเกิดความกังวลว่าสาเหตุมาจากอะไร และเป็นอันตรายต่อดวงตาหรือไม่

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565

โควิด-19, ไข้เลือดออก, ไข้หวัดใหญ่ อาการแตกต่างกันอย่างไร

 อาการของโควิด-19, ไข้เลือดออก, ไข้หวัดใหญ่ อาจจะใกล้เคียงกันจนแยกไม่ค่อยออก แต่จริงๆ แล้วมีจุดสังเกตง่ายๆ อยู่ หากสงสัยว่าเป็นโรคไหน จะได้เตรียมรับมือได้ถูกวิธี