วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

11 วิธีปฐมพยาบาล โดนพิษแมงกะพรุนกล่อง


แมงกะพรุนกล่อง (Box jellyfish) เป็นหนึ่งในสัตว์มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก เพราะมีเข็มพิษอยู่ในเซลล์จำนวนล้านๆ เซลล์ มีหนวดที่ยาวมาก และใสจนแทบมองไม่เห็น บางตัวอาจมีความยาวถึง 3 เมตร พิษของแมงกะพรุนกล่อง มีพิษต่อหลายระบบในร่างกายทั้งเลือด เนื้อหนัง หัวใจ ประสาท ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังเกร็ง เวียนหัว คลื่นไส้ ปวดหัว กระสับกระส่าย แน่นหน้าอก ส่วนใหญ่ผู้ได้รับพิษมักมีอาการปวดบริเวณแผล หรืออาจปวดไปทั่วร่างกายในบางราย อาจตายหรือจมน้ำก่อนใครจะช่วยทัน พิษของแมงกะพรุนจะทำให้บริเวณที่สัมผัสเป็นเส้นสีแดง คล้ายถูกแส้หรือถูกฟาดอย่างแรง

วิธีการช่วยเหลือและปฐมพยาบาล
1. ผู้ช่วยเหลือต้องแน่ใจว่าตัวเองปลอดภัยจากแมงกะพรุน

2. นำผู้บาดเจ็บขึ้นจากน้ำ หรือ ไปยังบริเวณที่ปลอดภัย

3. ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ เพื่อลดการยิงพิษจากแมงกะพรุน

4. ห้ามขัดถูบริเวณที่ถูกแมงกะพรุน

5. เรียกให้คนช่วย และโทร 1669 เรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน ควรสังเกตประเมินอาการตลอดเวลา

6. หากหมดสติ ไม่หายใจ หรือไม่มีชีพจร ให้ทำการ CPR ทันที (** แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล โดยทั่วไปให้ทำ CPR ตาม guideline C-A-B แต่หากการจมน้ำ สำลักน้ำร่วมด้วยใช้หลัก A-B-C )

7. ล้างบริเวณที่ถูกพิษด้วยน้ำส้มสายชูบ้าน ความเข้มข้น 2-10 % นานอย่างน้อย 30 วินาที หากไม่มีให้ใช้น้ำทะเล

8. ใช้ถุงมือหนา หรือแหนบคีบหนวดที่ยังติดอยู่ ห้ามใช้มือหยิบ

9. ให้ใช้วัสดุขอบเรียบ เช่น เปลือกหอย บัตร สันมีด ขูดเอาเมือกที่เหลืออยู่ออก

10. ในกรณีของ แมงกะพรุนกล่อง ให้ใช้น้ำแข็งประคบลดอาการปวด หลังจากที่ล้างด้วยน้ำส้มสายชูแล้ว หรือใช้ผักบุ้งทะเลตำพอกที่แผล

11. นำส่งโรงพยาบาล

ข้อควรระวัง
- ห้ามใช้น้ำจืดล้าง เนื่องจากจะกระตุ้นเข็มพิษให้ทำงานมากยิ่งขึ้น ส่วนการใช้แอมโมเนียล้างจะยิ่งทำให้อาการปวดแย่ลง

- ห้ามถูหรือขยี้

- หลีกเลี่ยงการใช้เทคนิคพันรัดแน่นด้วยผ้ายืด
ที่มา:sanook

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561

แป้งฝุ่น สาเหตุ โรคปอด-มะเร็งรังไข่ จริงหรือ?


หากใครที่ติดตามข่าวต่างประเทศมาบ้างจะพบว่า มีข่าวผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ยื่นฟ้องร้องบริษัทผลิตแป้งฝุ่นทาตัวชื่อดัง ว่าไม่ทำการติดฉลากพร้อมคำเตือนถึงการใช้แป้งฝุ่นแล้วจะเพิ่มความเสี่ยง และอันตรายในการเป็นโรคมะเร็งรังไข่ หลังจากที่เธอใช้แป้งฝุ่นยี่ห้อดังกล่าวเพื่อลดความอับชื้น และลดกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศมานานนับสิบปี
คำถามคือ การใช้แป้งฝุ่นบริเวณอวัยวะเพศ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งรังไข่ได้จริงหรือไม่

แป้งฝุ่น ทำมาจากอะไร?
แป้งฝุ่น มีส่วนประกอบสำคัญคือ ทัลคัม หรือ ทัลค์ เป็นแร่หินชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาโม่ให้ละเอียด อบให้แห้ง ผ่านการฆ่าเชื้อโรค แยกสิ่งแปลกปลอมออกมา แล้วอาจมีการเติมสารพิเศษลงไปเพิ่มเติม เช่น สารป้องกันความชื้น สารที่ช่วยทำให้ผิวเย็น สารกันเสีย และสารที่แต่งกลิ่นสังเคราะห์

แป้งฝุ่น อันตรายอย่างไร?
จริงๆ แล้วการใช้แป้งฝุ่นจะไม่ได้ก่อให้เกิดสารตกค้าง แต่สารทัลคัมในแป้งจะไม่สามารถย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าหากสูดดมแป้งฝุ่นเข้าไปในปริมาณหนึ่งนานๆ อาจเกิดการสะสมแร่ทัลคัมภายในปอด เซลล์บุผิวปอดอาจจับแป้งเอาไว้เป็นก้อน ทำให้มีอาการระคายเคือง จนอาจมีอาการไอ ระบบหายใจขัดข้อง อึดอัด อาจก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ และในเด็กทารกอาจเสี่ยงปอดอักเสบ ไปจนถึงเนื้องอกในปอด
ส่วนผู้หญิงที่ใช้แป้งในจุดซ่อนเร้น เพื่อลดความอับชื้น หรือกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์นั้น จากการศึกษาย้อนกลับไปจากผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ พบว่ามีพฤติกรรมในการใช้แป้งกับจุดซ่อนเร้นราว 30% หรือผู้ที่ใช้แป้งฝุ่นกับจุดซ่อนเร้นจะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งรังไข่ราว 1.8% มากกว่าผู้หญิงทั่วไปเล็กน้อย ที่มีความเสี่ยงอยู่ที่ 1.4% สาเหตุมาจากที่สารทัลคัมที่ไม่สามารถย่อยสลายเองได้นั้น หลงเข้าไปในร่างกายของผู้หญิงผ่านช่องคลอด มดลูก หรือท่อนำไข่ จนตกค้างอยู่บริเวณรังไข่ หรือใกล้เคียง

แป้งฝุ่น สาเหตุโรคปอด-มะเร็งรังไข่?
ถึงจะมีงานวิจัยออกมาอยู่บ้าง แต่ปัจจุบันสารทัลคัมในแป้งฝุ่นก็ยังไม่ถูกประกาศให้เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์อย่างชัดเจน เพราะยังไม่มีผลงานวิจัยที่ชัดเจนมากพอ และการใช้แป้งฝุ่นยังไม่ได้ก่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงไปถึงพันธุกรรม ในขณะที่สารก่อมะเร็งอื่นๆ เช่น บุหรี่ แอลกอฮอลล์ รอยไหม้ดำบนเนื้อสัตว์ สามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อสารพันธุกรรมได้ ดังนั้นแป้งฝุ่นยังถือได้ว่าอาจเป็นเพียง “ความเป็นไปได้” ที่จะเป็นสาเหตุของมะเร็งรังไข่ และโรคปอด แต่อาจยังไม่ใช่สารก่อมะเร็งอย่างชัดเจน เพราะโรคปอด และมะเร็งรังไข่ ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอีกมากมายนอกเหนือไปจากนี้
ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จัดผลิตภัณฑ์แป้งฝุ่นโรยตัว เป็นเครื่องสำอางควบคุมที่อาจเป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพอนามัยของผู้บริโภค แต่ไม่เข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสี่ยงอันตรายที่ต้องขออนุญาตขึ้นทะเบียนเครื่องสำอาง เพียงแต่บนฉลากต้องมีข้อมูลครบ และมีกำหนดห้ามมีส่วนผสมบางอย่าง รวมถึงห้ามมีส่วนผสมบางอย่างเกินกว่ากำหนดอีกด้วย

ดังนั้น เพื่อความสบายใจ และปลอดภัยไว้ก่อน สำหรับเด็กเล็ก ก็ไม่ควรทาแป้งฝุ่นมากเกินไป หรือนานเกินไป สำหรับผู้ใหญ่อย่างคุณผู้หญิงทั้งหลาย ก็ไม่ควรใช้แป้งฝุ่นในการขจัดความอับชื้นในบริเวณจุดซ่อนเร้นจะดีกว่าค่ะ
ที่มา:sanook

วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561

น้ำกัดเท้า โรคอันตรายที่มาพร้อมสงกรานต์


ไม่ว่าจะน้ำท่วม เล่นน้ำสงกรานต์ หรือเหตุการณ์ใดๆ ที่ส่งผลให้ต้องใช้ชีวิตอยู่กับน้ำตลอดเวลาทั้งแช่น้ำ ลุยน้ำอยู่เป็นเวลาต่อเนื่องกันนานๆ  อาจก่อให้เกิดโรคหรืออาการที่ตามมาทั้ง อุจจาระร่วง ตาแดง ผิวหนังต่างๆ รวมไปถึงอาการน้ำกัดเท้าได้
น้ำกัดเท้าคืออะไร?
“น้ำกัดเท้า” เป็นอาการทางผิวหนังที่พบบ่อยในภาวะอุทกภัย สาเหตุเกิดจากการระคายเคืองของผิวหนังบริเวณเท้าที่แช่อยู่ในน้ำที่สกปรกเป็นเวลานาน หรือเท้าที่เปียกชื้นจากน้ำหรือเหงื่อตลอดเวลา ผิวหนังจะมีอาการผื่นแดง แสบ คัน และอาจมีขุยลอกได้ โดยเฉพาะที่บริเวณซอกนิ้วเท้า
การรักษาโรคน้ำกัดเท้า
การรักษาเบื้องต้นคือการใช้ยาทาแก้ผื่นคัน เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนังและลดอาการขุยคันลงได้ แต่หากปล่อยให้ผิวหนังอักเสบอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ผิวหนังเปื่อย ฉีกขาด และมีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราตามมา ทำให้ยากต่อการรักษามากยิ่งขึ้น
ดังนั้น ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอาการน้ำกัดเท้า ควรทำดังนี้
-  ล้างเท้าด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลังย่ำน้ำ ลุยน้ำ หรือเปียกน้ำ และเช็ดเท้าให้แห้ง
-  หากมีแผลบริเวณเท้า ให้ล้างแผลด้วยน้ำเกลือ และใส่ยาฆ่าเชื้อ
-  ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว ถุงเท้า รองเท้า เป็นต้น
-  ไม่เกาบริเวณที่เป็นแผล เพราะเชื้อจากแผลอาจแพร่ไปยังผิวหนังส่วนอื่นได้
-  ใส่ถุงเท้า รองเท้าที่สะอาด แห้ง ไม่เปียกชื้น
 nam-kad-tao
ที่มา:sanook

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2561

5 อาชีพเสี่ยงโรค “หลอดเลือดดำที่ขา” อันตรายถึงขั้นต้องผ่าตัด

5 อาชีพเสี่ยงโรค “หลอดเลือดดำที่ขา” อันตรายถึงขั้นต้องผ่าตัด
นอกจากโรคอันตรายที่เกี่ยวกับหัวใจ เบาหวาน ตับ ไต และสมองแล้ว เราอาจจะละเลยไปว่าอวัยวะที่เราใช้งานอยู่ทุกวันอย่าง “ขา” ก็ควรได้รับการดูแล และเอาใจใส่ไปไม่น้อยกว่าอวัยวะอื่นๆ เช่นเดียวกัน แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากไม่รู้จักโรคหลอดเลือดดำที่ขา ทั้งๆ ที่อันตราย และวัยทำงานมีความเสี่ยงมากที่สุด
หลอดเลือดดำที่ขา คืออะไร?
หลอดเลือดดำที่ขา เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของหลอดเลือดดำ ทำให้การไหลเวียนของเลือดกลับสู่หัวใจไม่สะดวก เกิดการคั่งค้างของเลือด อาจทำให้ขาปวดบวมอักเสบได้
อันตรายของโรคหลอดเลือดดำที่ขา
หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจมีความเสี่ยงทำให้หลอดเลือดดำเสื่อมสภาพมากขึ้นจนเห็นได้ชัด อาจส่งผลกระทบถึงระบบหลอดเลือดฝอย และระบบน้ำเหลืองซึ่งอยู่ต่อเนื่องกัน ทำให้การหมุนเวียนเลือด และน้ำเหลืองผิดปกติ เกิดการคั่งค้างทำให้เกิดอาการบวมอักเสบ และลุกลามจนเป็นแผลเรื้อรัง หรือเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เส้นเลือดขอดอักเสบ แผลเรื้อรัง จนอาจต้องทานยา หรือเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคดังกล่าว
 
ผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดดำที่ขา
ทุกอาชีพที่มีการใช้งานขาอย่างหนัก และยาวนาน ผู้ที่ต้องยืนอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ เช่น
  1. ครู อาจารย์
  2. หมอ พยาบาล
  3. ตำรวจจราจร
  4. แม่ค้าพ่อค้า
  5. ช่างตัดผม ช่างเสริมสวย 
อาการของโรคหลอดเลือดดำที่ขา
ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดขา อาจรู้สึกขาหนักถ่วงๆ เมื่อยล้า บวม ชา หรือร้อนวูบวาบ ในบางครั้งมักเป็นตะคริวในเวลาเย็นหรือกลางคืน โดยที่อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเป็นประจำ จนกระทั่งรบกวนความรู้สึก และการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้อาจสังเกตเห็นเป็นเส้นเลือดขอด หรือที่ขา และเท้ามีอาการบวมอย่างชัดเจนร่วมด้วย 
วิธีรักษาโรคหลอดเลือดดำที่ขา
หากพบอาการผิดปกติตั้งแต่ช่วงแรกๆ อาจแนะนำให้ลดพฤติกรรมในการยืนอยู่กับที่นานๆ โดยไม่มีการนั่งพัก หรือเปลี่ยนอิริยาบถ แต่หากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดดำที่ขาเรียบร้อยแล้ว ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ เพื่อฉีดยา หรือรับยาที่ช่วยรักษาความผิดปกติของหลอดเลือดดำ และช่วยบรรเทาอาการต่างๆ มาทานที่บ้าน และ/หรือพิจารณาเข้ารับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขอาการเส้นเลือดขอด ลิ่มเลือดอุดตัน  และอาการอื่นๆ
ที่มา:sanook

5 อาชีพเสี่ยงโรค “หลอดเลือดดำที่ขา” อันตรายถึงขั้นต้องผ่าตัด เกี่ยวกับ หลอดเลือดดำท