วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2563

7 พฤติกรรมลดเสี่ยง โควิด-19


 โควิด-19 ไม่ใช่โรคอันตรายถึงชีวิตในทุกๆ คน เพียงแต่เป็นโรคที่แพร่กระจาย และติดเชื้อกันได้ง่ายเหมือนติดหวัด แต่หากเรามีการป้องกันตัวเองที่ดี หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัสได้ เราก็จะลดเสี่ยงติดโรคนี้ไปได้ง่ายๆ เช่นเดียวกัน

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563

แพทย์แนะ 4 สิ่งที่ต้องมี เมื่อ "โควิด-19" กลับมาอีกรอบ


 จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ขยายวงกว้างมากขึ้น ทำให้คนไทยส่วนใหญ่เริ่มวิตกกังวลกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะการล็อกดาวน์อีกหรือไม่ แม้ว่าข้อมูลทางการแพทย์ยืนยันชัดเจนว่าโรคนี้ไม่ได้ติดต่อกันง่าย ๆ ผ่านทางอากาศ และจะติดต่อกันได้ก็ต่อเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่เข้าทางเยื่อบุตา, จมูก หรือปากเท่านั้น แต่ความหละหลวมในการดูแลสุขอนามัยของตนเองก็อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อโดยไม่รู้ตัว

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563

"กลั้นปัสสาวะไม่อยู่" เรื่องไม่เล็ก และไม่ควรมองข้าม


 หลายคนอาจจะมีความเข้าใจว่า ปัญหาสุขภาพอย่างเรื่องกลั้นปัสสาวะไม่ได้เป็นเพียงปัญหาเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเท่านั้น จริงๆ แล้วผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง โรคทางสมอง

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563

5 โรคร้ายที่วัยคุณพ่ออาจเป็นโดยไม่รู้ตัว


 ผู้ชายวัยทองอย่างวัยของคุณพ่อของเรา ภายนอกอาจจะดูแข็งแรงสุขภาพดี แต่จริงๆ แล้ว อาจมีโรคร้ายแฝงอยู่ หากไม่เชื่อวันนี้ลองกลับบ้านไปถามคุณพ่อดูก็ได้ค่ะว่า ช่วงนี้สุขภาพเป็นอย่างไร มีอาการผิดปกติอะไรบ้างหรือไม่ หรือบางทีเราไม่จำเป็นต้องถาม เราก็จะสามารถสังเกตได้เองว่าคุณพ่อคนเก่งฮีโร่ของเรา แท้ที่จริงแล้วสุขภาพก็มีเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลาเช่นกัน

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ปัจจัยเสี่ยงของอาการ "ต่อมเหงื่ออักเสบ"


 การอักเสบของต่อมเหงื่อ เป็นภาวะอักเสบเรื้อรัง มักจะเกิดขึ้นบริเวณที่ผิวหนังสัมผัสกัน นอกจากนั้น การอักเสบของต่อมเหงื่อยังอาจเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่คุณทำอยู่ทุกวันด้วย แล้วพฤติกรรมประจำวันอะไรบ้างที่อาจทำให้เกิดการอักเสบขอต่อมเหงื่อ ลองมาติดตามกันใน 

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563

5 โรคระบาดหน้าหนาว ทุกเพศทุกวัยควรระวัง



 แม้ว่าหน้าหนาวบ้านเราจะไม่ค่อยหนาวเท่าไร แต่ก็มีโรคระบาดหน้าหนาวที่ทุกเพศทุกวัยควรระวังอยู่ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ต้องระวังเจ็บป่วย สามารถฉีดวัคซีนป้องกัน หมั่นรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

5 สัญญาณอันตราย เมื่อ "ไต" มีปัญหา




 โรคอันตรายที่เกี่ยวข้องกับ “ไต” มีมากมาย ตั้งแต่ไตอักเสบ ไตวาย โรคไตเรื้อรัง ฯลฯ เป็นต้น แม้ว่าไตจะเป็นอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย แต่หากไตเริ่มมีปัญหา ร่างกายจะสามารถแสดงอาการออกมาให้เราทราบได้ ดังนี้

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

สาเหตุ "ภาวะน้ำหนักเกิน" (โรคอ้วน) ที่ไม่ได้มาจากการ "กิน"



 ภาวะน้ำหนักเกิน และ โรคอ้วน เป็นภาวะทางสุขภาพที่เกิดจากหลายปัจจัย ทั้งทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคมะเร็งบางชนิด และยังกระทบต่อปัญหาทางกายภาพ เช่น มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ หรือ โรคนอนกรน ข้อเข่าเสื่อม

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

"ขี้แมวขึ้นสมอง" โรคร้ายที่ทาสแมวควรระวัง



 สำหรับผู้ที่กำลังตกเป็นทาสแมวควรอ่านให้ดี จะพาทุกคนไปรู้จักกับ โรคขี้แมวขึ้นสมอง ซึ่งมีตัวการมาจากน้องเหมียวในบ้านคุณ แต่จะมาจากสาเหตุอะไร และมีอาการร้ายแรงต่อมนุษย์ หรือผู้เลี้ยงมากน้อยแค่ไหนนั้น

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

4 สาเหตุ "โรคไต" ที่ไม่ได้มาจากการ "กินเค็ม"

 


17.6% คือตัวเลขของคนไทยที่ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังหรือผู้ที่มีภาวะโรคไตแฝงอยู่ คิดเป็นประมาณ ล้านคนของประชากรไทย แต่กลุ่มที่ป่วยเป็นโรคไตวายในระยะสุดท้าย จะอยู่ที่ประมาณ หมื่น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ราวๆ 1-2 หมื่นคนต่อปี

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

"ตกขาว" ของผู้หญิงแบบไหน ผิดปกติ?



 ปัญหา “ตกขาว” อาจสร้างความกังวลใจให้กับผู้หญิงหลายๆ คน และอาจจะเขินอายเกินไปที่จะปรึกษาเพื่อนหรือแพทย์  มีข้อมูลจาก นพ. สุรเชษฐ์ อภินิลบงกช สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลสมิติเวช ให้ลองสังเกตลักษณะของตกขาวดูเอาเองก่อนเบื้องต้น หากมีสิ่งผิดปกติ จะได้รีบไปพบแพทย์ได้ทันก่อนอาการจะแย่ไปกว่าเดิม

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

"ผ่าฟันคุด" กับอันตรายจากผลข้างเคียงที่ควรระวัง

 



ผ่าฟันคุด เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต แต่ผ่าฟันคุดอาจมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ แม้จะมีความเสี่ยงน้อยมาก แต่หากมีความผิดปกติหลังผ่าฟันคุด ควรรีบพบทันตแพทย์ทันที

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2563

"ฝีที่รักแร้" เกิดจากอะไร รักษา และป้องกันอย่างไร?



 หากใครเคยเป็นฝี น่าจะรู้ดีว่ามันเจ็บปวดทรมานแค่ไหน โดยเฉพาะเมื่อเป็น "ฝีที่รักแร้" เพราะแค่จะนั่งหุบแขนแบบปกติบางทีก็ยังยาก แถมยังต้องกังวลอีกว่าฝีจะแตกจนหนองไหล หรือซึมเลอะเสื้อผ้าจนเสียความมั่นใจหรือเปล่า

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2563

“โรคอ้วนในเด็ก” ความน่ารักที่แฝงด้วยอันตราย



 ผู้ใหญ่หลายคนมักจะคิดว่า “เด็กอ้วน” คือเด็กน่ารัก น่ากอด แต่หารู้ไหมว่าความน่ารักที่มาจากความอ้วนนั้นอาจไม่เป็นผลดีเท่าไรนัก เพราะถ้าปล่อยให้เด็กอ้วนต่อไปเรื่อยๆ ในระยะยาวจะมีปัญหาสุขภาพมากมายตามมา จากสถิติพบว่ามีเด็กทั่วโลกเป็นโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น 2-3 เท่ามาตั้งแต่ปี 1980 และไม่มีทีท่าว่าจะลดลง

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563

รู้จักโรค "เกล็ดเลือดต่ำ" สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา



 ลองจินตนาการดูว่า หากลูกของคุณไม่สามารถเล่นในสนามเด็กเล่นกับเพื่อนได้เหมือนปกติ ไม่ว่าจะเป็นการขี่จักรยาน เล่นกีฬา หรือแม้กระทั่งการทำกิจกรรมทั่วไปของเด็กๆ  ที่มีความเสี่ยงต่อการกระทบกระแทก แม้เพียงเล็กน้อย อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกมากจนกังวลว่าอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  คุณจะรู้สึกอย่างไร?  หรือบางครั้งเมื่อคนอื่นเห็นรอยจ้ำเลือดและรอยฟกช้ำบนตัวของลูกคุณ คุณอาจถูกเข้าใจผิดว่ารอยช้ำเกิดจากกระทำการรุนแรงกับเด็ก

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563

3 วิธี “หยุด คุม เพิ่ม” ลดเสี่ยง “โรคหัวใจ”



 การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดแต่แรกเริ่มเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยโรคประจำตัว พฤติกรรมการใช้ชีวิต อาหารการกิน สภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมตลอดจน ความเครียด เหล่านี้ เป็นปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค หรือกระตุ้นให้เกิดโรคทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังได้

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

"หน้าเบี้ยวครึ่งซีก" เสี่ยงเส้นประสาทผิดปกติ

 


หากคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงลูกด้วยมือถือ อาจเกิดอาการอ่อนแรง บริเวณใบหน้าครึ่งซีก ใบหน้าเบี้ยว หลับตาไม่สนิท ปากเบี้ยว  มีน้ำไหลที่มุมปาก และอาจพูดไม่ชัด การรับรสที่ลิ้นผิดปกติ ปวดศีรษะ หูอื้อข้างเดียวหรือ 2 ข้าง ดื่มน้ำลำบากพูดไม่ชัด เป็นผลมาจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ผิดปกติ

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2563

รู้จัก "โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง" สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

 


  • โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease-IBD) เป็นกลุ่มโรคของการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร ที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคแน่ชัด อาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปกติ พันธุกรรม และสามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกกลุ่มอายุ

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2563

"กลากน้ำนม" โรคผิวหนังพบบ่อยในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จัก



 หลายท่านคงเคยได้ยินชื่อ “โรคกลากน้ำนม” กันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนโดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่ที่มีลูกน้อยอาจไม่รู้จักว่ากลากน้ำนมแท้จริงแล้วเกิดจากอะไรกันแน่ เพราะมักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาการหนึ่งของ โรคกลากเกลื้อน แต่ในความเป็นจริงแล้วเกิดจากความผิดปกติทางผิวหนังที่เกิดจากการลดจำนวนของเม็ดสีนั่นเอง บทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ กลากน้ำนม ให้มากขึ้น

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2563

รู้จักโรค "ALS กล้ามเนื้ออ่อนแรง" สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

 


กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือโรค ALS ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แนะออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทาน อาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมความเครียด หากมีอาการที่คล้ายจะเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้องป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563

"ไข้หวัดใหญ่" อาจเสี่ยงอันตรายหนัก หากไม่ได้รักษากับหมอ

 


  • ไข้หวัดใหญ่ทำให้เกิดอาการรุนแรง ภาวะแทรกซ้อน หรือเสียชีวิตได้ บุคคลที่ต้องระวังอย่างมาก คือ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ แม่หลังคลอด 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม และผู้พิการทางสมอง

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563

7 อันตรายจากโรค "กรดไหลย้อน"


 โรคกรดไหลย้อน เป็นหนึ่งในโรคที่ไม่มีใครอยากเป็น เพราะมีอาการทรมาน แสบร้อนกลางหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน จนถึงขั้นนอนไม่ได้ และหากเราปล่อยให้เป็นนานๆ จะมีอันตรายเพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง มีข้อมูลจาก นพ.นันทพล พงศ์รัตนามาน อาจารย์ที่ปรึกษา แผนกศัลยศาสตร์หลอดเลือด ร.พ.พระมงกุฎเกล้า หรือ หมอท็อป เจ้าของเฟซบุ๊กเพจ Doctor Top ถึงอันตรายทั้ง 7 อย่างจากโรคกรดไหลย้อน มาฝากกัน

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เชื้อ "โควิด-19" มากับอาหารแช่แข็งได้ จริงหรือ?

 

หลังจากที่ทราบกันแล้วว่า สาเหตุที่พบเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ครั้งแรก มาจากตลาดขายอาหารทะเลสดในเมืองอู่ฮั่น และพบในเขียงหั่นปลาแซลมอนในตลาด หลายคนจึงกังวลกันว่าอาหารทะเลแช่แข็งที่มาจากเมืองจีน หรือจากแหล่งอาหารต่างประเทศ จะเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนามาด้วยหรือไม่

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

อันตรายจาก “ฟันผุ” อย่าปล่อยไว้ อันตรายถึงชีวิต

 

กรมการแพทย์ โดยสถาบันทันตกรรม เตือนปล่อยให้ฟันผุไม่รักษา อาจติดเชื้อรุนแรง อักเสบ เป็นหนอง ส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญ เช่น ตา ลำคอ โพรงไซนัส และสมอง เสี่ยงติดเชื้อลุกลามไปยังระบบทางเดินหายใจ

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563

รู้จักโรค “คอบวม” ในโค-กระบือ ยังไม่พบในคน แต่ควรหลีกเลี่ยงสัมผัสสัตว์ป่วย


โรคเฮโมรายิกเซพติกซีเมีย หรือโรคคอบวม กำลังแพร่ระบาดในภาคอีสาน สาเหตุจากวัวควาย ยังไม่พบการแพร่ระบาดในคน แต่แนะให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่ป่วย

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2563

"ประจำเดือน" ผิดปกติ สาเหตุของโรคอะไรบ้าง?

“ประจำเดือน” คือเยื่อบุของโพรงมดลูกที่หลุดออกมาทุกรอบเดือนของผู้หญิง ในปกติผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์จะมีรอบเดือนทุกๆ 21-35 วัน และแต่ละรอบจะยาวนานราว 2-7 วัน หากประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมีความผิดปกติอะไรบ้างอย่าง อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ได้

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เข้าใจใหม่! “โรคกระเพาะอาหาร” ไม่ได้เป็นเพราะกินข้าวไม่ตรงเวลา

เชื่อว่าหลาย ๆ คนจะต้องโตมากับคำสอนของผู้หลักผู้ใหญ่มาตั้งแต่เด็ก หรือแม้แต่อ่านเจอในหนังสือเรียนว่า “กินข้าวไม่ตรงเวลา ระวังเป็นโรคกระเพาะ” หรือ “อย่าอดข้าว เดี๋ยวเป็นโรคกระเพาะ” แต่ที่จริงแล้ว “โรคกระเพาะอาหาร” ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการกินอาหารไม่ตรงเวลา ซึ่งนี่อาจจะเป็นความรู้ใหม่สำหรับใครหลาย ๆ คนเลยก็ว่าได้

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

อันตรายของ "ไข้เลือดออกในเด็ก" ช่วงหน้าฝน-เปิดเทอม

ช่วงหน้าร้อนเข้าหน้าฝน โรคที่มักระบาดกันอยู่บ่อยๆ ทุกปีคงหนีไม่พ้น “ไข้เลือดออก” เพราะหากเราไม่ระมัดระวังถูกยุงลายกัด ที่แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วในช่วงอากาศร้อนชื้น อาจทำให้เป็นโรคไข้เลือดออกกันได้ง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไข้เลือดออกในเด็กที่มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคนี้มากกว่าผู้ใหญ่

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

อาการแบบนี้ "ไวรัส" หรือ "แบคทีเรีย"

เมื่อเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนฤดูในทุกครั้ง สภาพอากาศรอบตัวเราก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากร้อนเป็นฝน จากฝนเป็นหนาว และจากหนาวเป็นร้อน ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ ป่วยเป็นไข้หวัดกันได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ตลอดจนผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรง ยิ่งจะป่วยเป็นไข้หวัดได้ง่าย เมื่อมีอาการหวัดคนส่วนใหญ่ก็มักจะเข้าใจผิดว่าจะต้องรับประทานยาแก้อักเสบทุกครั้งไป

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

9 วิธีลด "ผื่นคัน" บนผิวหนังอย่างรวดเร็ว

คนที่มีผื่นคันไม่ว่าจะเป็นโรคผิวหนัง มีอาการแพ้ หรือสาเหตุจากอะไรก็ตาม อาจรู้สึกรำคาญ และรบกวนการใช้ชีวิตเป็นเวลานานกว่าจะหาย หากอยากให้ผื่นคันหายไปเร็วๆ มีเคล็ดลับดีๆ จาก นพ.นันทพล พงศ์รัตนามาน อาจารย์ที่ปรึกษา แผนกศัลยศาสตร์หลอดเลือด ร.พ.พระมงกุฎเกล้า หรือ หมอท็อป เจ้าของเฟซบุ๊กเพจ Doctor Top กันได้เลย

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

"แพ้น้ำหอม" โรคภูมิแพ้ ที่คนมีกลิ่นกายไม่อยากเป็น

เนื่องด้วยสภาพอากาศของเมืองไทยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บางวันก็อบอ้าว บางวันก็ร้อนระอุ ทำให้ร่างกายของเรามักผลิตเหงื่อออกมาอย่างมาก จนทำให้บางคนนั้นเริ่มมีกลิ่นตัว โดยปรกติคนส่วนใหญ่ มักจะเลือกใช้น้ำหอมฉีดเพื่อกลบกลิ่นเหม็นอับอยู่เสมอ แต่ทว่าในบางราย ฉีดไปแล้วกลับส่งผลให้เกิดผดผื่นขึ้น

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ทำอย่างไร หาก “โควิด-19” ระบาดระลอก 2

การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19) รอบที่ 2 เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค หรือสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง แต่หากเกิดเหตุการณ์นี้ในประเทศไทย เราควรรับมืออย่างไร

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2563

“ผู้สูงอายุ” ป้องกันตัวเองจาก “โควิด-19” ได้อย่างไร?

ผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยมากกว่า 80 ปี เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 มากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ วิธีเหล่านี้จะช่วยดูแลสุขภาพของคนชราเหล่านี้ให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสได้

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

วิธีดูแลตัวเองช่วง "โควิด-19" สำหรับผู้ป่วย "เบาหวาน"

ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19) เป็นเชื้อไวรัสในกลุ่มโคโรนา (coronavirus) ชนิดใหม่ ก่อให้เกิดการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจ ซึ่งอาการมีได้ตั้งแต่ไม่มีอาการจนถึงอาการหนัก ในผู้ป่วยบางราย coronavirus สามารถทำให้เกิดปอดติดเชื้อ ภาวะไตล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้เชื้อไวรัสนี้ติดต่อได้จากเสมหะหรือน้ำลายขณะไอ จาม หรือพูดคุย

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2563

"โควิด-19" ติดต่อทาง “เพศสัมพันธ์” ได้หรือไม่?

ช่วงระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 คู่รักสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้หรือเปล่า จะติดไวรัสกันไหม สามารถมีเพศสัมพันธ์อย่างไรให้ห่างไกลจากความเสี่ยงในการติดไวรัสได้หรือเปล่ารวบรวมคำตอบจากแพทย์มาฝาก

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563

ไวรัสโคโรนา: แพทย์เผย “คนอ้วนมาก” เสี่ยงติดเชื้อไวรัส “โควิด-19”

นายแพทย์ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ และ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เผยถึงกลุ่มเสี่ยงที่อาจติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือไวรัสโควิด-19 ว่า “คนอ้วน” จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสด้วย นอกจากผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่างที่ทราบกันไปก่อนหน้านี้แล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563

โควิด-19: สงสัยว่าติดเชื้อไวรัส ควรทำอย่างไร มีขั้นตอนรักษาอย่างไรบ้าง?

หากมีอาการหวัด มีไข้ 37.5 องศาเซลเซียส มีอาการเจ็บคอ ไอ น้ำมูกไหล และหายใจลำบาก สงสัยว่าตัวเองอาจติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือเชื้อไวรัสโควิด-19 ควรเดินทางไปตรวจร่างกายอย่างละเอียดที่โรงพยาบาล ถ้าสุดท้ายกลายเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขึ้นมาจริงๆ จะต้องเจอกับขั้นตอนการรักษาอย่างไรบ้าง

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563

"โควิด-19" (COVID-19) กับผลกระทบร้าย อันตรายถึงหัวใจ

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือชื่อทางการที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศออกมาว่า โควิด-19 (COVID-19) ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องและทำอันตรายกับระบบต่างๆ ในร่างกาย ยิ่งเป็นผู้ป่วยสูงวัยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดหัวใจหรือสมอง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตลอดจนโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด หากได้รับเชื้อ COVID-19 และปรากฏอาการโรคปอดบวม ถ้าไม่รีบรักษาอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย และอวัยวะล้มเหลวหลายระบบได้ในที่สุด

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2563

"หน้ากากอนามัย" ป้องกันเชื้อ "โควิด-19" ได้หรือไม่ ?

เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่กระจายไปสู่คนอื่นได้ แม้จะยังอยู่ในช่วงฟักตัวก็ตาม หมายความว่าผู้ที่ไม่แสดงอาการก็สามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ ดังนั้นเราควรสวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสชนิดนี้ แต่ การสวมใส่ หน้ากากอนามัย ป้องกันเชื้อโควิด-19 ได้เหมือนป้องกันไข้หวัดหรือไม่ หากใครที่กำลังมีข้อสงสัย วันนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับการสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19 มาฝากกัน

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

10 สถานที่เสี่ยงควรหลีกเลี่ยง ช่วง “โควิด-19” ระบาด

ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัส “โควิด-19” (COVID-19) ระบาด การหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันมาก ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อลงได้ เพราะสถานที่ที่มีคนรวมกันอยู่มาก ๆ จะเป็นมีความเสี่ยงสูงที่จะมีการแพร่กระจายเชื้อไวรัสจากคนสู่คนได้ง่ายขึ้น การระมัดระวังความสะอาดหลังไอ จาม เอาละอองน้ำลายออกมาฟุ้งกระจายในอากาศก็ควบคุมได้ยากเช่นกัน

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

“ไวรัสโคโรนา” เสี่ยงติดต่อผ่าน “อุจจาระ” ห้องน้ำสาธารณะก็อันตราย

สำนักชาวซินหัวรายงานว่า นักวิจัยพบกรดนิวคลีอีกจากการเก็บตัวอย่างอุจจาระของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา ผู้มีอาการท้องร่วงเป็นอาการระยะแรก แทนที่จะมีไข้เหมือนผู้ติดเชื้อรายอื่น ๆ ทีมวิจัยจึงเชื่อว่า เชื้อไวรัสโคโรนาสามารถติดต่อผ่านอุจจาระของผู้ป่วยอีกคนได้ 

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ผู้ป่วย “เบาหวาน” เสี่ยง “เครียด-ซึมเศร้า” ครอบครัวควรช่วยเหลือ

โรคเบาหวาน เมื่อป่วยแล้วต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยจึงมีความเสี่ยงเกิดผลกระทบทางใจได้สูงกว่าคนทั่วไป ที่เป็นห่วงก็คือปัญหาความเครียดและซึมเศร้าจะมีผลต่อประสิทธิภาพการรักษาด้วย โดยมีผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าสูงกว่าคนปกติทั่วไปประมาณ 2 เท่าตัว

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

"ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ" โรคที่เป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย

แพทย์แนะวิธีดูอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบ อาจมีอาการคล้ายกับปัญหาสุขภาพอื่น ๆ และเป็นได้ทุกเพศทุกวัย ระวังไม่ให้ติดเชื้อหรือเกิดบาดแผลเพื่อป้องกัน

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563

7 โรคร้ายที่มากับการ “กินดิบ”

ถึงแม้ว่ามนุษย์เราสมัยก่อนนู้นที่ยังไม่มีไฟใช้ จะเริ่มต้นจากการบริโภคเนื้อสดๆ แต่ในเมื่อสมัยนี้เรามีพร้อมทุกอย่างทั้งไฟแก๊ส ไฟฟ้า เราก็ไม่ควรทานอาหารดิบ เพราะทางการแพทย์พิสูจน์ได้ว่า อาหารดิบเต็มไปด้วยเชื้อโรค พยาธิ และอันตรายต่างๆ นานา ที่ทำให้ร่างกายของเราเป็นโรค และเกิดอาการผิดปกติ จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563

อาการโรค "ปอดอักเสบ" ที่ควรสังเกตทั้งตัวเอง และคนรอบข้าง


  • อาการของปวดบวมปริศนา คือ มีไข้ หายใจลำบาก ดูจากภาพเอ็กซเรย์หน้าอกจะเห็นรอยโรคแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในปอดทั้ง 2 ข้าง

  • หากมีคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว เพิ่งกลับมาจากพื้นที่ที่พบการระบาด แล้วมีอาการ มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หอบเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษา

  • ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปีเพราะไข้หวัดใหญ่ยังคงเป็นไวรัสที่พบได้บ่อยและทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้มาก

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563

8 โรคอันตรายหากไม่ “ล้างมือ” ให้สะอาดจนติดเป็นนิสัย

“สุขภาพดี เริ่มต้นที่การล้างมือ” ไม่ได้เป็นประโยคลอยๆ ที่ไม่มีหลักฐานอ้างอิง เพราะนายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า “จากข้อมูลจากองค์การยูนิเซฟ พบว่าในแต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคอุจจาระร่วงประมาณ 3.5 ล้านคน และโรคปอดบวมประมาณ 25% การล้างมือที่ถูกต้องเป็นการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้อีกทางหนึ่ง โดยการล้างมือด้วยน้ำและสบู่ จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อได้ถึง 50% เป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพอนามัยที่ดี”

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563

ฟันคุดคืออะไร? ทำไมต้องผ่าฟันคุด? ไม่ผ่าได้ไหม?


ฟันคุดคืออะไร

ฟันคุด คือฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก อาจจะโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ ฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง โดยปกติแล้วฟันซี่นี้ควรจะขึ้นในช่วงอายุ 18 - 25 ปี อาจโผล่ขึ้นอยู่ในลักษณะตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวระนาบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันข้างเคียงเสมอ นอกจากนี้ฟันซี่อื่น ๆ ก็อาจจะคุดได้ เช่น ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยแต่พบได้น้อยกว่าฟันกรามล่างซี่สุดท้าย