วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562

8 โรคอันตรายหากไม่ “ล้างมือ” ให้สะอาดจนติดเป็นนิสัย

“สุขภาพดี เริ่มต้นที่การล้างมือ” ไม่ได้เป็นประโยคลอยๆ ที่ไม่มีหลักฐานอ้างอิง เพราะนายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า “จากข้อมูลจากองค์การยูนิเซฟ พบว่าในแต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคอุจจาระร่วงประมาณ 3.5 ล้านคน และโรคปอดบวมประมาณ 25% การล้างมือที่ถูกต้องเป็นการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้อีกทางหนึ่ง โดยการล้างมือด้วยน้ำและสบู่ จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อได้ถึง 50% เป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพอนามัยที่ดี”

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562

“ถุงซีสต์แตก” เลือดออกในช่องท้อง อันตรายมากแค่ไหน?

ซีสต์ที่เกิดขึ้นในร่างกายมีหลายตำแหน่ง และหลายประเภท ที่พบกันบ่อยในผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีบุตร อาจจะเสี่ยงโรค หรือภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมดลูก และรังไข่มากกว่าคนที่เคยมีบุตรมาแล้ว และซีสต์เป็นหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในหญิงไทย หากพบก่อนรีบรักษาก่อนก็จะไม่เป็นปัญหาอะไรให้หนักใจมาก แต่หากปล่อยไว้จนซีสต์อักเสบบวม และแตกในช่องท้อง อาจอันตรายกว่าเดิมมาก

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ตาแฉะ น้ำตาไหลบ่อย ขี้ตาเยอะ เสี่ยง “ภาวะน้ำตาเอ่อ”

หากมีอาการน้ำตาไหลบ่อย ขี้ตาคล้ายๆ เมือกเหนียวสีขุ่นขาวหรือมีสีเหลือง อักเสบ บวมแดง มีหนองควรพบจักษุแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นโรคภาวะน้ำตาเอ่อ

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562

"ไข้เลือดออก" กับ 4 อาการเด่น-ความรุนแรงของโรคที่ควรสังเกต

ไข้เลือดออกคือโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี่ ที่มียุงลายเป็นพาหะ ในประเทศไทยไวรัสเดงกี่เป็นเชื้อที่ก่อโรค จึงชื่อว่าไข้เลือดออกเดงกี่ (Dengue Haemorrhagic Virus) มีรายงานครั้งแรกใน พ.ศ. 2501  ปัจจุบันไข้เลือดออกเดงกี่พบการติดเชื้อได้ในหลายประเทศ ในประเทศไทยแต่ละปีมีรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อหลายหมื่นจนถึงแสนราย โรคนี้พบมากในฤดูฝน ช่วงพฤษภาคมถึงกันยายน พบในเด็กอายุ 5-9 ปีมากที่สุด รองลงมา 10-14 ปี แรกเกิดถึง 4 ปี และ15 ปีขึ้นไป ตามลำดับ มีจำนวนทั้งชายและหญิงมีจำนวนใกล้เคียงกัน และยังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขและวงการแพทย์ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งยุงลายมี 2 ชนิด ได้แก่ยุงลายสวนและยุงลายบ้าน ที่พบกันบ่อยที่สุดคือยุงลายบ้าน พบในบ้าน บริเวณรอบบ้าน มีหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ Aedes Aegypti และเป็นยุงลายเพศเมีย หากินในเวลากลางวัน ชอบวางไข่ในน้ำนิ่งที่ค่อนข้างสะอาด และเชื้อไวรัสจะอยู่ในตัวยุงได้ตลอดชั่วชีวิตของยุงตัวนั้นประมาณ 1-2 เดือน

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562

7 พฤติกรรมทำร้าย “ไต” ทั้งที่ไม่ได้กินเค็ม

หากพูดถึงโรคไต หลายคนคงคิดออกตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ยินว่า “เพราะทานเค็มมากเกินไป” แต่จะมาบอกว่า ไม่ใช่อาหารรสเค็มเท่านั้นที่เป็นสาเหตุของโรคไต คุณอาจยังไม่ทราบ และเผลอทำร้ายไตของตัวเองไปโดยไม่รู้ตัว!

วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2562

วิธีสังเกต ลูกเป็น “ออทิสติก” หรือเปล่า?

รพ.จิตเวชนครราชสีมาฯ เตือนให้พ่อแม่สังเกตอาการผิดปกติให้เร็วที่สุด  หากพบเด็กวัย 2 เดือนไม่สบตา ไม่มองโมบายเหมือนเด็กวัยเดียวกัน ขอให้สงสัยว่าอาจเป็นออทิสติก และควรเร่งกระตุ้นพัฒนาการเด็ก