วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เตือนภัย “วัยทำงาน” เสี่ยง “กระเพาะอาหารเรื้อรัง”

 

เตือนวัยทำงานควรรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ เพื่อป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังในอนาคตได้

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ลักษณะ "รังแค" บอกโรคทางหนังศีรษะกับเราได้

 ปัญหาหนังศีรษะอาจเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่คิด ถ้าไม่ดูแลรักษาให้ดี อาจเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ รวมถึงสภาพเส้นผมของเราก็ถูกทำลายไปด้วย ปัญหาที่พบได้บ่อยและเป็นกันหลายคนคือ “รังแค” มีข้อมูลจาก รศ.ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป (หมอโบนัส) หัวหน้าศูนย์โรคเส้นผมและหนังศีรษะ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และแพทย์ประจำคลินิก Absolute Hair Clinic มาฝากกัน


“รังแค” บอกอะไรกับสภาพหนังศีรษะของเราได้บ้าง 

รังแค คืออะไร? มีสาเหตุมาจากอะไร?

โรคหนังศีรษะอักเสบ และโรคหนังศีรษะลอกเป็นขุย หรือที่เรียกว่ารังแค รังแค คือ ขุยหรือสะเก็ดสีขาวบนหนังศีรษะ พบบริเวณโคนผม เส้นผม หรืออาจร่วงลงมาเกาะบนปกเสื้อ บริเวณบ่าและไหล่ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นเมื่อใส่เสื้อสีเข้ม รังแคเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยกับคนทุกเพศทุกวัย มีรายงานอุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 25 ของประชากร ก่อให้เกิดความรำคาญ สูญเสียความความมั่นใจในตัวเอง และเสียบุคลิกภาพได้

โรคหนังศีรษะอักเสบ (seborrheic dermatitis) เป็นโรคที่หนังศีรษะมีสะเก็ดหรือขุยที่เล็ก สีขาวเหลืองปนน้ำตาล มันวาว บนพื้นหนังศีรษะอักเสบแดง มักมีอาการคันร่วมด้วย 

สาเหตุของโรคเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ 

  • การเพิ่มขึ้นของเชื้อยีสต์ในกลุ่ม Malassezia yeasts 
  • ความผิดปกติของการเจริญเติบของเซลล์หนังกำพร้า 
  • การหลั่งไขมันของผิวหนังและส่วนประกอบของไขมันบนหนังศีรษะที่ผิดปกติไป
  • ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ปัจจัยภายในของคนไข้ที่ทำให้มีความไวต่อการเกิดโรค 
  • ยาบางชนิด 

โดยมากผื่นแดงมักพบบริเวณกรอบหน้า หลังหู ท้ายทอย ในรายที่เป็นมากจะพบผื่นผื่นกระจายทั่วศีรษะและบริเวณอื่นๆ ที่มีขน เช่น หนวด เครา ขนตา และขนคิ้ว

โรคหนังศีรษะอักเสบ และรังแค ต่างกันอย่างไร?

หนังศีรษะในโรครังแค (dandruff) จะลอกแห้งเป็นขุย (flakes) แต่ไม่แดง ไม่มีอาการอักเสบ หรือมีก็แต่น้อย มักพบในผู้ชายวัยกลางคน รังแคมักเป็นมากในช่วงฤดูหนาวที่อาการแห้ง หนังศีรษะมักจะไม่มัน เหมือนโรคหนังศีรษะอักเสบ

การรักษาโรคหนังศีรษะอักเสบ

โรคหนังศีรษะอักเสบเป็นโรคที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก เนื่องจากผื่นมีอาการคัน และอยู่บนบริเวณที่มองเห็นได้ง่าย ขุยและสะเก็ดของผื่นมักจะหล่นลงมาติดเสื้อผ้าอาจจะลุกลามเป็นบริเวณกว้าง ทำให้ผู้ป่วยเสียบุคลิกภาพ ขาดความมั่นใจ และขณะเดียวกันก็เป็นโรคเรื้อรัง ไม่หายขาด จุดมุ่งหมายในการรักษาคือการลดอาการเห่ออักเสบ และให้มีระยะปลอดโรคนานที่สุดเท่าที่จะนานได้ โดยยาที่นิยมนำมาใช้รักษาโรคหนังศีรษะอักเสบ คือแชมพูยา ในกลุ่มแชมพูกำจัดเชื้อราเชื้อยีสต์ แชมพูทาร์ (tar shampoo) แชมพูที่ผสมสาร zinc pyrithione หรือ selenium sulfide ร่วมกับยาทาลดการอักเสบ เป็นต้น

วิธีลดปัญหารังแคเบื้องต้น

หากยังมีอาการเพียงเล็กน้อย สามารถใช้วิธีที่แนะนำโดย ผศ.พญ.ชนิษฎา วงษ์ประภารัตน์ ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อลดปัญหารังแคได้

  1. เลี่ยงการสระผมด้วยน้ำอุ่น เนื่องจากน้ำอุ่นจะทำให้หนังศีรษะแห้ง และลอกเป็นขุยได้
  2. เลี่ยงการเกาแรงๆ หรือใช้หวีซี่คมหวีบริเวณหนังศีรษะ
  3. ใช้ยาสระผมที่มีส่วนผสมของตัวยาที่สามารถลดจำนวนเชื้อราบนศีรษะ ซึ่งได้แก่ คีโตโคนาโซล ซิงค์ไพรีไทออน ซิลิเนียม ซัลไฟด์ หากมีสะเก็ดหนา และใช้ยาสระผมข้างต้นไม่ทุเลา ให้เปลี่ยนมาใช้ยาสระผมที่มีส่วนผสมของน้ำมันดิน (Tar) จะช่วยลดสะเก็ดได้ดี แต่มีข้อเสียคือ กลิ่นค่อนข้างแรง และอาจทำให้ผมแห้ง แข็งกระด้าง ซึ่งวิธีแก้ไขคือให้ใช้ครีมนวดตามหลังการสระผม  ผู้ที่เป็นรังแคควรใช้ยาสระผมเหล่านี้เป็นประจำ โดยช่วงแรกควรสระผม 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หลังจากรังแคลดลงแล้วสามารถลดเหลือ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยแต่ละครั้งที่สระผมควรทิ้งเวลาประมาณ 5-10 นาทีก่อนล้างออก
  4. หากกรณีมีหนังศีรษะอักเสบร่วมด้วย การใช้ยาทากลุ่มคอติโคสเตอรอยด์ชนิดน้ำ หรือครีมน้ำนมทาบริเวณหนังศีรษะจะลดอาการแดงอักเสบลงได้ โดยหลังจากสระผมให้ใช้หวีแสกผมออก จากนั้นหยอดยาลงบนบริเวณที่มีการแดงอักเสบของหนังศีรษะ ใช้นิ้วเกลี่ยและคลึงเบาๆ  โดยทายาวันละ 1-2 ครั้ง การอักเสบของหนังศีรษะจะลดลง
ที่มา:sanook

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

3 เหตุผล ทำไมถึง "ห้ามนอน" ทั้งที่ "ผมเปียก"

 คุณผู้อ่านเคยรู้สึกขี้เกียจรอผมแห้งหลังจากอาบน้ำก่อนเข้านอน แล้วก็เลยล้มตัวลงนอนเลยโดยที่หัวยังไม่แห้งบ้างไหมคะ? ถ้าเคยล่ะก็ วันนี้ จะพาคุณมาดูว่าการ นอนทั้งที่ผมเปียก นั้นสามารถสร้างความเสี่ยงต่อสุขภาพได้โดยที่คุณอาจไม่รู้ตัว แต่จะอันตรายมากน้อยแค่ไหนนั้น ไปติดตามกันได้ที่บทความนี้เลยค่ะ

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

สารคัดหลั่งแบบไหน มีเชื้อโควิด-19 มากที่สุด

 เชื้อโควิด-19 สามารถติดต่อและแพร่กระจายได้ผ่าน “สารคัดหลั่ง” ซึ่งหนึ่งในสารคัดหลั่งที่เรารู้กันดีคือ น้ำลาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำลายจากการไอ จาม พูดคุยระยะใกล้ การใช้ช้อนส้อม แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ อุปกรณ์การรับประทานอาหาร หรือของใช้ส่วนตัวอย่างๆ แต่นอกจากน้ำลายแล้ว ยังมีสารคัดหลั่งอื่นๆ ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้เช่นกัน และปริมาณเชื้อไวรัสที่พบในสารคัดหลั่งแต่ละประเภทก็มากน้อยไม่เท่ากัน

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

คันตายิบๆ อาจเสี่ยง "ภูมิแพ้ที่เยื่อบุตา"

 ใครเคยมีอาการคันตา เป็นๆ หายๆ คันจนอยากเกาเข้าไปในลูกตา คุณอาจเสี่ยง “ภูมิแพ้ที่เยื่อบุตา” มีข้อมูลจาก รศ.พญ.ภิญนิตา ตันธุวนิตย์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จาก Mahidol Channel มาฝากกัน