วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2564

11 อาการอันตรายของผู้ป่วย "เบาหวาน"

 อาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควรสังเกตเป็นประจำ เพราะอาจหมายถึงค่าน้ำตาลในเลือดกำลังผิดปกติ และอาจก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกายในเวลาอันรวดเร็วได้


อ.นพ.ธเนศ แก่นสาร ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุข้อมูลเกี่ยวกับอาการที่อันตรายของผู้ป่วยเบาหวานเอาไว้ ดังนี้


อาการที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดต่ำ

  1. เหงื่อออก
  2. ใจสั่น มือสั่น
  3. รู้สึกหิว
  4. อ่อนเพลีย แขนขาไม่มีแรง
  5. สับสน หมดสติ ชัก

วิธีแก้ไข เมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำ


-ถ้ายังรู้สึกตัวดี กลืนได้ ไม่สำลัก ให้รับประทานอาหารต่อไปได้ทันที เช่น

  • ดื่มน้ำหวาน 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1/2 แก้ว หรือ
  • ดื่มน้ำผลไม้ประมาณ 1/2 แก้ว หรือ 120 ซีซี  หรือ
  • อมลูกอม 2 เม็ด หรือ น้ำตาล 2 ก้อน หรือ
  • ขนมปังแผ่น 1 แผ่น

-ถ้าไม่ค่อยรู้สึกตัว หรือ กลืนไม่ได้ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล

อาการที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูง

  1. กระหายน้ำ
  2. ปัสสาวะบ่อย
  3. น้ำหนักลด
  4. คลื่นไส้ อาเจียน
  5. ปวดท้อง
  6. สับสน หมดสติ ชัก

วิธีแก้ไข เมื่อน้ำตาลในเลือดสูง


  • ดื่มน้ำอุ่น หรือ น้ำเปล่าที่ไม่มีน้ำตาลบ่อยๆ
  • พักผ่อน งดการออกกำลังกายหรือทำงาน
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะ ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่ลดลง ควรรีบพบแพทย์
  • กรณีตรวจพบสารคีโตน หรือ มีอาการเหนื่อยหอบ ปวดท้อง ซึมลงมาก ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที

อันตรายจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้

หากปล่อยให้ระดับน้ำตาในเลือดสูงเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตัน โรคไตเรื้อรัง ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา และระบบประสาทส่วนปลายเสื่อม (ชาปลายมือปลายเท้า)


ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานควรตรวจสอบอาการอยู่เสมอ จะได้รีบรักษา ก่อนที่จะเกิดอาการรุนแรง


ที่มา:sanook

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2564

สาเหตุของอาการ “แสบท้อง” เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

 แสบท้อง เป็นอาการที่พบได้บ่อย อาจเกิดจากการระคายเคืองบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งเป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างคอและกระเพาะอาหาร รวมถึงอาจเกิดจากการมีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป จนทำให้รู้สึกแสบร้อนในท้อง อาการปวดแสบท้องอาจรุนแรงขึ้นหลังรับประทานอาหาร หรือเมื่อนอนราบ แม้จะเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป แต่หากเป็นบ่อยและรบกวนการประกอบกิจวัตรประจำวัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างตรงจุด

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564

จริงหรือไม่? "งูสวัด" ขึ้นวนรอบตัว จะเสียชีวิต

 ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง โรคงูสวัด หากขึ้นวนรอบตัวจะทำให้เสียชีวิต ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

รู้จักโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” (B.1.1.529) ที่อาจกลายพันธุ์จนต้านวัคซีนได้

 นายโจ ฟาห์ลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแอฟริกาใต้ ประกาศเมื่อวันที่ 26 พ.ย. ที่ผ่านมา ว่าค้นพบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ชนิดกลายพันธุ์แบบใหม่ ที่ขณะนี้ใช้ชื่อว่าชนิด B.1.1.529 (ภายหลัง WHO ตั้งชื่อเรียกว่าสายพันธุ์ "โอไมครอน") กำลังระบาดอย่างรวดเร็วในประเทศ โดยภายหลังมีข้อมูลเพิ่มเติมว่า ถูกตรวจพบครั้งแรกที่บอตสวานา ประเทศในทวีปแอฟริกา

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

"ผมร่วง" อาการข้างเคียงที่พบได้จาก "โควิด-19"

 แพทย์ผิวหนังชี้ “ภาวะผมร่วง” อาการที่เกิดขึ้นได้หลังการติดเชื้อโควิด-19

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง ชี้ภาวะผมร่วงหลังการติดเชื้อโควิด-19 สาเหตุเกิดจากความเครียดและมีการกระตุ้นปฏิกิริยาการอักเสบซึ่งส่งผลต่อวงจรชีวิตของผมทำให้วงจรผมมีการเปลี่ยนเร็วกว่าปกติ พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการรักษาที่ถูกวิธี

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

5 โรคร้ายและอันตรายข้างเคียง หากเป็น “เบาหวาน”

 

โรคเบาหวานเป็นโรคอันตรายที่พบคนไทยเป็นกันอยู่เรื่อยๆ สาเหตุมาได้ทั้งจากพันธุกรรม และจากพฤติกรรมการกินอาหาร รวมถึงการออกกำลังกายที่เหมาะสม

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

3 สัญญาณอันตราย ภาวะ “เกล็ดเลือดต่ำ”

 ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ คือภาวะที่เลือดมีจำนวนของเกล็ดเลือดน้อยกว่าปกติไม่นับว่าเป็นโรค แต่เป็นภาวะที่เกิดจากโรค ควรต้องตรวจหาสาเหตุของการเกิดภาวะดังกล่าวก่อนทำการรักษา

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564

แพทย์แนะ ผู้ป่วย "ข้อเข่าเสื่อม" ดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงโควิด-19

 “โรคข้อ” คือภัยเงียบที่ส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยเฉพาะโรคข้อเข่าเสื่อมซึ่งพบได้มากในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มที่จะพบสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564

กรมควบคุมโรคเตือน "ไม่ล้างมือ" เสี่ยง "ตาแดง"

 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช เตือนประชาชนระวังป่วยโรคตาแดงในช่วงฤดูฝน เผย พบผู้ป่วยในปีนี้กว่า 2 หมื่นรายแล้ว และโรคนี้สามารถหายเองได้ใน 2 สัปดาห์ แนะรักษาความสะอาดโดยการล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ หากมีอาการตาแดงและมีปัญหาตาพร่ามัว ให้รีบพบจักษุแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2564

Eye Floater เห็น "จุดดำ" ลอยไปมา อันตรายไหม?

 เคยเป็นไหมเวลาที่อากาศร้อนๆ เงยหน้ามองท้องฟ้า แล้วเจอเส้นดำๆ หรือฝุ่นขยุกขยุยลอยไปลอยมาในตาของเรา ซึ่งความเป็นจริงแล้วนั่นไม่ใช่ฝุ่นปริศนา หรือพยาธิอะไรหรอกไว้ใจแซลมอนมื้อก่อนที่คุณกินได้เลย แต่นี่คืออาการมองเห็นเงาดำที่เกิดจากน้ำวุ้นในตา หรือที่เรียกว่า Eye Floaters

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564

สาเหตุ “ตาปลา” และวิธีรักษาที่ถูกต้อง

 ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนมีก้อนกรวด ติดอยู่กับเท้าตลอดเวลาจึงรู้สึกเจ็บเมื่อเดินทั้งเวลาสวมรองเท้า หรือแม้เดินด้วยเท้าเปล่าอาจทำให้รบกวนการใช้ชีวิตได้

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564

6 โรคอันตรายที่มากับ "น้ำท่วม" กันไว้ดีกว่าแก้

 ใครที่เผชิญกับเหตุการณ์น้ำท่วมบ่อยๆ จะเข้าใจว่าทุกข์แรกที่น้องน้ำจะพามาคือความเสียหาย แต่รู้หรือเปล่าว่าทุกข์ที่สองที่ตามมาติดๆ คือปัญหาสุขภาพนี่แหละ และในตอนนี้ที่กำลังเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ในหลายๆ จังหวัด สวดมนต์อย่างเดียวอาจไม่พอ เพราะนอกจากปัญหาปากท้องแล้ว ปัญหาสุขภาพก็น่าเป็นห่วงเหมือนกัน วันนี้เราเลยมาชวนทำความรู้จัก 6 โรคอันตรายที่มากับน้ำไว้ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับเรา

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564

4 ระยะความรุนแรง “นิ้วล็อก” แบบไหนควรรีบพบแพทย์

 นิ้วล็อก เป็นอาการที่พบได้ในคนที่ใช้มือ และนิ้วมือในการทำงานในระยะเวลานาน หรือบุคคลที่ต้องทำงานโดยการกำมือแน่นๆ เป็นประจำ จนทำให้เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นบริเวณโคนนิ้ว

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564

เล่นมือถือนานๆ เสี่ยง “ตาบอด” ได้หรือไม่?

 หลายคนอาจทราบดีว่าแสงสีฟ้าจากหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ ส่งผลเสียต่อดวงตา จึงควรลดการใช้เวลาจ้องหน้าจอลงในแต่ละวัน แต่ถ้าจ้องมองหน้าจอมากๆ จะมีอันตรายถึงขั้น “ตาบอด” ได้เลยหรือไม่ มีคำตอบจาก อ.พญ.วฎาการ วุฒิศิริ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาฝากกัน

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564

ภาวะ "เปลือกตาหย่อน" อันตรายหรือไม่ แก้ไขได้อย่างไร

 นอกจากเปลือกตาหย่อนจะทำให้ดูมีอายุแล้ว ยังอันตรายเพราะบดบังทัศนวิสัยด้วย จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไรบ้าง

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2564

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564

รู้จัก โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ “มิว” ต้านภูมิคุ้มกันได้ อันตรายแค่ไหน

 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ยกระดับโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.621 หรือสายพันธุ์ “มิว” ให้เป็นสายพันธุ์โควิด-19 ล่าสุด ให้เป็นสายพันธุ์ที่ “กำลังให้ความสนใจ” นั่นหมายถึง เป็นสายพันธุ์ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นอันตรายได้ในอนาคตอันใกล้

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2564

รู้จัก "ปลายประสาทอักเสบ" โรคใกล้ตัวของมนุษย์ออฟฟิศ

 มีใครที่เป็นมนุษย์ออฟฟิศที่ต้องทำงานอยู่ตรงหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลากันบ้าง ขอให้ยกมือขึ้น! แน่นอนว่าในหนึ่งวันของการทำงานนั้นแทบจะใช้เวลากับคอมพิวเตอร์และยังต้องนั่งติดโต๊ะด้วยท่าเดิมๆ 7– 8 ชั่วโมงกันไปเลย ยิ่งถ้าใครต้องคลิกเมาส์หรือใช้โทรศัพท์มือถือตลอดเวลาก็จะทำให้เป็นโรคนี้กันได้ง่ายๆ

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564

9 อาหารลดความเสี่ยง "มะเร็งเต้านม"

 จริงๆ แล้วไม่มีอาหารหรือรูปแบบการรับประทานใด ที่สามารถป้องกันหรือก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ แต่การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั้นสามารถสร้างความแตกต่าง อย่างเห็นได้ชัด สำหรับความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่มีความซับซ้อน เกิดขึ้นจากปัจจัยหลายๆ อย่างรวมกัน ไม่ว่าจะเป็นอายุ พันธุกรรม

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

วิธีสังเกตว่าเชื้อ “โควิด-19” ลงปอดเเล้วหรือยัง?

 อาการของผู้ติดเชื้อโควิด-19 แต่ละคนใกล้เคียงกัน แต่ไม่เหมือนกันสักทีเดียว เพราะหากเชื้อไวรัสเข้าสู่ปอดแล้ว อาจมีอาการมากกว่าแค่อาการคล้ายหวัด แต่อาจมีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมากกว่าจะขอรับบริการ home isolation

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564

"จมูกไม่ได้กลิ่น" นอกจาก "โควิด-19" อาจเป็นโรคอะไรได้อีก

 ไม่ใช่แค่โควิด-19 ที่น่าสงสัย แต่เมื่อไรก็ตามที่จมูกเริ่มไม่ค่อยได้กลิ่น อาจสงสัยว่าเป็นโรคเหล่านี้ได้ด้วย

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2564

5 วิธีเช็ก “ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ” อันตรายถึงชีวิต

 

อาการใจสั่น” เพราะเจอคนหน้าตาดี หรือเจอคนพูดเสียงดัง เลยเกิดตกใจ ทำให้ใจสั่น อาจไม่ใช่เรื่องเล็ก หรือเรื่องเล่นๆ หากคุณเคยมีอาการใจสั่นบ่อยๆ หรือหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ นี่อาจเป็นสัญญาณของ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ติดโควิด-19 แต่เตียงเต็ม? กรมอนามัยแนะวิธีดูแลตัวเองที่บ้าน

 ในสถานการณ์ประเทศไทยที่ยังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้นเรื่อยๆ และสถานพยาบาลอย่างโรงพยาบาลต่างๆ เริ่มขาดแคลนเตียงสำหรับบริการผู้ป่วย จึงมีการแนะนำให้ผู้ป่วยโควิด-19 แยกตัวพักรักษาและดูอาการอยู่ที่บ้าน (ในกรณีที่ยังไม่มีอาการหนัก) 

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า คืออะไร วัคซีนป้องกันได้หรือไม่?

 นอกจากคำเรียกชื่อสายพันธ์ุของเชื้อโควิด-19 ที่เราเคยเห็นเรียกกันตามชื่อประเทศที่พบสายพันธุ์นั้นๆ ครั้งแรกแล้ว เรายังมีการเรียกชื่อสายพันธุ์ว่าอัลฟ่า เบต้า แกมมา และเดลต้า อีกด้วย

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วิธีเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด-19 ของผู้ป่วย "หลอดเลือดหัวใจ"

 จากสถานการณ์ที่ผ่านมาเรื่องที่หลายคนกังวลมากที่สุดกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 คือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในระยะสั้นและระยะยาวของการฉีด โดยเฉพาะผู้ป่วยในกลุ่มโรคเรื้อรังอย่างโรคหลอดเลือดหัวใจจะเกิดความกังวลมากเป็นพิเศษ ดังนั้นการเข้าใจให้ถูกต้องและเตรียมตัวให้เหมาะสมก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 จึงเป็นเรื่องสำคัญ

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

7 สัญญาณอันตราย เสี่ยงโรค "เบาหวานชนิดที่ 2"

 7 อาการเบาหวานเบื้องต้น ที่บ่งบอกว่าคุณอาจเข้าข่ายเป็น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ลองมาตรวจสอบกันดูว่า คุณมีอาการเข้าข่ายของ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือไม่ แล้วอาการที่เข้าข่ายนั้นจะมีอะไรบ้าง

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

สัญญาณอันตราย โรค "แพ้เหงื่อตัวเอง"

 มีใครเคยรู้สึกแสบๆ หรือมีอาการคันยิกๆตรงบริเวณที่มีเหงื่อออกตามร่างกายเวลาที่เราไปเจอแดดที่ร้อนมากๆกันบ้าง? ไม่ว่าจะเป็นตรงลำคอ ใบหน้า แขน ขา เป็นต้น ทั้งคันไม่พอบางทีถึงกับลมพิษขึ้น มีผื่นแดง หรือผื่นคันขึ้นตรงบริเวณดังกล่าว จะเป็นไปได้ไหมว่าเราอาจจะกำลังเป็นโรค "แพ้เหงื่อตัวเอง"

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

รู้จักโรค "กินไม่หยุด" (Binge Eating) ผลกระทบจากซึมเศร้า-เครียด

 Binge Eating หรือโรคกินไม่หยุด เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีอาการกินอาหารในปริมาณมาก กินซ้ำๆ ควบคุมพฤติกรรมการกินของตัวเองไม่ได้ โดยไม่มีพฤติกรรมที่พยายามจะลดน้ำหนัก มีสาเหตุหลายอย่าง อาจรวมถึงซึมเศร้า และเครียดได้ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

รู้จักโรคไข้หูดับ อาการของโรค พร้อมแนะวิธีป้องกัน

 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนให้หลีกเลี่ยงรับประทานหมูดิบหรือสุกๆ ดิบๆ เสี่ยงป่วยด้วยโรคไข้หูดับ อาจทำให้หูหนวกถาวรหรือเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง พร้อมแนะวิธีป้องกัน โดยรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ไม่ใช้เขียงของดิบและของสุกร่วมกัน ไม่สัมผัสเนื้อหมูและเลือดดิบด้วยมือเปล่า 

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2564

สัญญาณอันตราย โรค "แพ้เหงื่อตัวเอง"

 มีใครเคยรู้สึกแสบๆ หรือมีอาการคันยิกๆตรงบริเวณที่มีเหงื่อออกตามร่างกายเวลาที่เราไปเจอแดดที่ร้อนมากๆกันบ้าง? ไม่ว่าจะเป็นตรงลำคอ ใบหน้า แขน ขา เป็นต้น ทั้งคันไม่พอบางทีถึงกับลมพิษขึ้น มีผื่นแดง หรือผื่นคันขึ้นตรงบริเวณดังกล่าว จะเป็นไปได้ไหมว่าเราอาจจะกำลังเป็นโรค "แพ้เหงื่อตัวเอง"

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ระวัง “ขยี้ตา” อาจแพร่-รับเชื้อ “โควิด-19” เพราะติดต่อทางน้ำตาได้

 หากอาการของการติดเชื้อโควิดอยู่ในระดับรุนแรง จะพบอาการแสดงทางตาเยื่อบุตาอักเสบได้ และยังสามารถพบเชื้อโควิดได้ในน้ำตา สามารถติดต่อโรคทางน้ำตาได้ จึงควรระวังการสัมผัสที่ตา ขยี้ตา  อาจนำเชื้อเข้าสู่เยื่อบุตา และแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2564

แพทย์แนะ 4 กลุ่มเสี่ยงตรวจคัดกรอง “มะเร็งปอด” เจอเร็ว รักษาได้

 ถึงแม้ว่ามะเร็งปอดจะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ แต่ถ้าเราสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น มีโอกาสรักษาหายได้  ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญก็คือ การสูบบุหรี่ รวมถึงการได้รับควันบุหรี่เป็นประจำก็มีความเสี่ยงไม่ต่างจากคนสูบบุหรี่ รองลงมาคือ การได้รับมลพิษจากสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่นควัน ไอระเหย โลหะหนักต่างๆ นอกจากนี้ก็คือ อายุที่เพิ่มขึ้น และประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2564

"โควิด-19" เมื่อต้องรักษาในห้อง ICU รักษาอย่างไร?

 แนวทางการรักษาโรคไวรัสโควิด-19 หลักๆ จำเป็นต้องให้ยาต่างๆ ให้ถูกช่วงเวลา เพราะถ้าให้ยารักษาในช่วงเวลาที่ผิด ก็จะไม่ได้ผล

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

สัญญาณเตือนร่างกายติด "สมาร์ทโฟน" มากจนผิดปกติ

 เล่นมือถือ ปวดมือ ปวดคอ ปวดแขน มือชา ถ้ามีอาการเหล่านี้ แสดงว่าร่างกายกำลังส่งสัญญาณเตือนภัยจากการใช้ชีวิตประจำวันแล้วค่ะ โดยเฉพาะอาการที่เรียกว่า “ติดสมาร์ทโฟน” ในโลกยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้ามากในด้านการสื่อสารแบบไร้สาย ผู้คนต่างมีโลกส่วนตัวอยู่กับเครื่องมือสื่อสารของตน มองไปทางไหนก็ต่างก้มหน้าก้มตามองมือถือ ผู้คนพูดคุยกันน้อยลง เป็นยุคที่ผู้คนกำลังถูกมอมเมาด้วยภาพและเสียงที่มาล่อตาล่อใจ จะมีสักกี่คนที่สนใจกับร่างกายว่า ตอนที่กำลังเพลิดเพลินอยู่นั้น เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายบ้าง เกือบทั้งหมดจะรู้สึกตัวก็ต่อเมื่อเงยหน้าขึ้นจากจอเล็กๆ ในมือ นั่นแหละ

วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

"กรดไหลย้อน" รักษาอย่างไรให้หายขาด

 กรดไหลย้อน โรคที่ใครๆ ก็ไม่อยากเป็น เพราะสร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และยังพบได้มากในวัยรุ่น วัยทำงานอีกด้วย

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

“โควิด-19” กับคำถามพบบ่อย การติดต่อ อันตราย และวิธีป้องกัน

 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบุคำถามที่ผู้ป่วยสอบถามกันเข้ามาบ่อยๆ ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 คือ ไวรัสโควิด-19 ติดได้อย่างไร เชื้อไวรัสอยู่ได้นานแค่ไหน และวิธีการป้องกัน

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

สัญญาณอันตราย “จอประสาทตาฉีกขาด-หลุดลอก” ความเสี่ยงที่พบได้ทุกช่วงวัย

 

พบเส้นเลือดในดวงตาผิดปกติ การมองเห็นแย่ลง หรือเห็นเหมือนสายฟ้าแล่บ รีบหาแพทย์ เพราะอาจเสี่ยงจอประสาทตาฉีกขาดและหลุดลอก

วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564

สัญญาณอันตรายโรค "ปลอกประสาทอักเสบ" (เอ็มเอส) วัยทำงานมีความเสี่ยง

 

โรคปลอกประสาทอักเสบ (เอ็มเอส) วัย 20-40 ปีมีความเสี่ยง ผู้ป่วยมักสูญเสียความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันและทำงาน แนะรีบรักษาหากเริ่มมีอาการ

วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2564

"ปัสสาวะบ่อย" เป็นโรคอะไร?

 ภาวะของการปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ บางคนปวดปัสสาวะ 2-3 ครั้งต่อชั่วโมง หรือต้องลุกไปเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนบ่อยๆ ถือเป็นโรคอย่างหนึ่ง เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย

วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564

“โรคไต” อาการเริ่มต้น และระยะสุดท้ายที่สังเกตได้

 

โรคไต ถือเป็นภัยเงียบที่มักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมาจากหลายปัจจัย แต่ปัจจุบันกลับพบว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการกินเค็มจัด มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการป่วยเป็นโรคไต

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564

"ผ่าฟันคุด" กับอันตรายจากผลข้างเคียงที่ควรระวัง

 

ผ่าฟันคุด เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต แต่ผ่าฟันคุดอาจมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ แม้จะมีความเสี่ยงน้อยมาก แต่หากมีความผิดปกติหลังผ่าฟันคุด ควรรีบพบทันตแพทย์ทันที

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2564

สุนัข-แมวกัดหรือข่วน เสี่ยงโรค "พิษสุนัขบ้า"

 

ระวังถูกสุนัข-แมว กัดหรือข่วน อาจเสี่ยงป่วยโรคพิษสุนัขบ้า แนะเจ้าของต้องดูแลสัตว์เลี้ยงของตนเองให้ดี นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นทุกปี และไม่ปล่อยให้สัตว์เลี้ยงออกนอกบ้าน