วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562

“เดินเท้าเปล่า-เด็กเล่นพื้นดิน” เสี่ยง “พยาธิชอนไชผิวหนัง”

“พยาธิชอนไชผิวหนัง” ไม่ได้มาจากอาหารการกิน แต่มาจากพยาธิตามพื้นดินที่สามารถชอนไชเข้าสู่ผิวหนังของเราได้ โดยเฉพาะคนที่เดินเท้าเปล่า หรือเด็กที่สวมเสื้อผ้าบาง ๆ นั่งเล่นบนพื้นทราย เสี่ยงผิวหนังอักเสบ คัน และอาจติดเชื้อได้

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2562

“อาบน้ำ” หลังกลับจากท่องเที่ยวทันที อาจเสี่ยงโรคได้

ผู้เชี่ยวชาญเตือน หากเพิ่งกลับจากท่องเที่ยว หรือพักผ่อนนอกบ้านนาน ๆ อย่าเพิ่งเปิดฝักบัวแล้วอาบน้ำทันที เพราะอาจเสี่ยงโรคโดยไม่รู้ตัวได้

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562

“พยาธิในช่องคลอด” อันตรายที่ผู้หญิงควรระวัง

พยาธิในช่องคลอด เกิดจากการติดเชื้อที่สามารถตรวจพบได้ในน้ำอสุจิ และน้ำในช่องคลอด ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และกลุ่มเสี่ยงคือกลุ่มคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีอาการตกขาวผิดปกติ แสบคันช่องคลอด ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562

"ผิวแห้ง กระเนื้อ ผมร่วง มะเร็งผิวหนัง" ปัญหาผู้สูงอายุที่ควรดูแล

ผู้สูงอายุอาจมีปัญหาโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย เช่น ผิวแห้ง ผื่นคันจากอาการแพ้ ผมร่วงและคันศีรษะจนถึงมะเร็งผิวหนัง หากมีตุ่ม ก้อนเนื้อ แผลเรื้อรัง หรือพบว่าไฝมีขนาดใหญ่ขึ้น สีเปลี่ยน มีเลือดออก ควรรีบพบแพทย์ผิวหนังทันที

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562

"หลอดเลือดสมองตีบ-ตัน" อันตรายถึงชีวิต เปิดหลอดเลือดสมอง ลดความเสี่ยงอัมพาต

โรคหลอดเลือดสมอง (Stoke) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้สูงอายุเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคนี้เป็นภาวะที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ เพราะมีการอุดตันของหลอดเลือดที่จะนำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้สมองขาดเลือด อยู่ในภาวะที่ทำงานไม่ได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เซลล์สมองค่อย ๆ ตายลง โรงพยาบาลที่สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงทีและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับผู้ป่วย

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

รักษา “มะเร็ง” ด้วย “เคมีบำบัด” ทำอย่างไรบ้าง?

เมื่อกล่าวถึงโรคมะเร็งทุกคนจะรู้สึกตกใจ เพราะมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกและเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ โดยมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่  มะเร็งปอด รองลงมาคือ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งกระเพาะอาหาร ส่วนมะเร็งที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง คือ มะเร็งปอด ตามมาด้วยมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ใหญ่  ซึ่งการรักษามะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด เป็นรูปแบบการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติอีกครั้ง

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วิจัยชี้ “โรคอ้วน” เสี่ยงมะเร็งบางชนิดมากกว่า “สูบบุหรี่”

สถาบันมะเร็งแห่งสหราชอาณาจักร (Cancer Research UK) ระบุว่า โรคอ้วน เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็ง 4 โรคที่พบได้บ่อยในสหราชอาณาจักร เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งไต มะเร็งรังไข่ และมะเร็งตับ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้มากกว่าการสูบบุหรี่

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ดูซีรีส์เยอะเกินไป ระวังสมองตื้อ-ประสาทหลอน-อ้วน

จิตแพทย์เตือนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ดูซีรีส์ออนไลน์ที่กำลังฮิตทั่วโลกคนเดียว โดยเฉพาะกลุ่ม “บิงจ์ วอชชิ่ง“ เผยทำให้อาการกำเริบและจากงานศึกษาวิจัยในอังกฤษ พบปัญหามากมายทั้งอ้วน ความจำ ยาเสพติด

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

“ลมชัก” คืออะไร อาการ และวิธีรักษา

โรคลมชักเป็นโรคทางสมองที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้คนทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถควบคุมและรักษาให้หายขาดได้ แต่เนื่องจากความไม่เข้าใจของสังคม ทำให้ผู้ป่วยโรคลมชักส่วนหนึ่งต้องพบกับปัญหาในการดำรงชีวิตและเกิดความท้อแท้สิ้นหวัง เนื่องจากอคติและการไม่ยอมรับจากสังคม ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการศึกษาตามระบบหรือไม่สามารถหางานทำได้ ทั้งที่จริงแล้ว ผู้ป่วยโรคลมชักส่วนใหญ่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้เป็นปกติ ไม่แตกต่างจากคนทั่วไป

วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

เลิกด่วน! 7 พฤติกรรมทำร้าย "กระดูกสันหลัง"

กระดูกในร่างกายเรามีทั้งหมด 206 ชิ้น ที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย และทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายในต่างๆ ไขกระดูกบางชนิดจะช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดขาว และเส้นเอ็นจะเป็นตัวเชื่อมโยงเนื้อเยื่อต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ทุกส่วนล้วนทำงานอย่างสัมพันธ์กัน ซึ่งเมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดบกพร่อง ย่อมกระทบส่วนอื่นๆ ไปด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

12 วิธีป้องกัน "หวัด" โรคยอดฮิต เป็นได้ตลอดทั้งปี

ไข้หวัดหรือโรคหวัด (Common cold) เป็นโรคที่พบบ่อยมาก ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก สาเหตุของไข้หวัดส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน เช่น จมูก คอ ไซนัส และกล่องเสียง บางรายมีอาการอื่นแทรกซ้อน เช่น ไข้ ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว คลื่นไส้ ปวดหัว มึนหัว ปวดตัว เบื่ออาหาร ท้องเสีย เป็นต้น ซึ่งไข้หวัดนี้เป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้ง่าย โดยการอยู่ใกล้ชิดกัน ตามสถานที่ต่างๆ เช่น โรงเรียน ออฟฟิศ หรือในสถานที่ที่มีคนเป็นจำนวนมาก เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

“โรคเพมฟิกอยด์ หรือ โรคตุ่มน้ำพอง” คืออะไร สาเหตุของโรค และวิธีรักษา

โรคเพมฟิกอยด์ (Bullous pemphigoid) หรือ โรคตุ่มน้ำพองใส ไม่ใช่โรคติดต่อ สามารถสัมผัสและอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยได้ตามปกติ แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาอย่างต่อเนื่อง มีโอกาสหายได้

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562

"โรคเกลียดเสียง" เมื่อเสียงทำให้คุณรู้สึกคลุ้มคลั่ง โรคนี้มีอยู่จริง

คุณเคยเห็นคนที่รู้สึกตื่นกลัว เมื่อได้ยินเสียงเล็บที่กรีดลงบนกระดานบ้างไหม อาการนั้นอาจเป็นอาการที่เรียกว่า โรคเกลียดเสียง หรือมิโซโฟเนีย (Misophonia) โรคเกลียดเสียงเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่มีเสียงบางอย่าง ซึ่งทำให้คนเรารู้สึกเกลียดอย่างรุนแรง ดังนั้น จึงรู้จักกันอีกอย่างในฐานะของกลุ่มอาการที่ไวต่อการรับรู้ของเสียงบางอย่าง

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562

“หัวใจวายเฉียบพลัน” ไอแรงๆ ช่วยได้จริงหรือ?

โรคหัวใจล้มเหลว หัวใจวาย หรือหัวใจขาดเลือด เป็นโรคที่สามารถมีอาการกำเริบขึ้นมากะทันหัน ในขณะที่เราอาจกำลังทำกิจกรรมต่างๆ อยู่ เช่น ขับรถ ขี่จักรยาน ใช้เครื่องจักร หรืออาจจะแค่กำลังยืน หรือเดินอยู่ริมถนน ซึ่งหากมีอาการหมดสติในระหว่างที่กำลังทำกิจกรรมนั้นๆ อยู่ อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562

7 โรคร้ายที่มากับการ “กินดิบ”

ถึงแม้ว่ามนุษย์เราสมัยก่อนนู้นที่ยังไม่มีไฟใช้ จะเริ่มต้นจากการบริโภคเนื้อสดๆ แต่ในเมื่อสมัยนี้เรามีพร้อมทุกอย่างทั้งไฟแก๊ส ไฟฟ้า เราก็ไม่ควรทานอาหารดิบ เพราะทางการแพทย์พิสูจน์ได้ว่า อาหารดิบเต็มไปด้วยเชื้อโรค พยาธิ และอันตรายต่างๆ นานา ที่ทำให้ร่างกายของเราเป็นโรค และเกิดอาการผิดปกติ จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เช็กอาการปวดท้อง ปวดแบบไหน เป็นโรคอะไร?

อาการปวดท้อง เป็นอาการที่สามารถเป็นได้ทุกคน บางคนอาจเป็นแค่อาการเบสิก แต่อย่านึกว่าเป็นแล้วก็หายไม่อันตราย เพราะ บางรายปวดท้องเป็นประจำแต่ละเลยสุขภาพ ซึ่งจริง ๆ แล้ว อาการปวดท้อง อาจเป็นสัญญาณเตือนของร่างกายที่ควรจะไปพบแพทย์ได้แล้ว

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

โบท็อกซ์-มาสคาร่า ปัจจัยเสี่ยง “ท่อน้ำมันในเปลือกตาอุดตัน”

ท่อน้ำมันในเปลือกตาอุดตัน เป็นหนึ่งในภาวะผิดปกติในกลุ่มโรคเปลือกตาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยผู้หญิงเอเชียมีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่น เพราะมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมากกว่ากลุ่มอื่น

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562

อาชีพก่อสร้าง-คนงานผลิตน้ำแข็ง เสี่ยง “โรคจากความสั่นสะเทือน”

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ เผยผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับความสั่นสะเทือนหรือจากการสัมผัสความเย็น เช่นคนเจาะถนน เจาะหิน ทำงานในห้องเย็น เป็นต้น เสี่ยงโรคจากความสั่นสะเทือน แนะป้องกันโดยเลือกใช้เครื่องมือที่มีระบบป้องกันการสั่นสะเทือน ร่วมกับถุงมือป้องกันการสั่นสะเทือน หยุดพักเป็นระยะและไม่ใช้เครื่องมือนานเกินไป

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

"โรคเบาจืด" เป็นแล้วรักษาไม่หาย ต้องกินยาตลอดชีวิต

โรคเบาจืดเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่พบได้ไม่มากนัก มีเพียง 3-4 รายใน 1 แสนคน และผู้ป่วยต้องรับประทานยาฮอร์โมนทดแทนตลอดชีวิต

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2562

ไอเรื้อรัง-เสียงแหบนาน สัญญาณอันตราย “มะเร็งกล่องเสียง”

มาทำความเข้าใจกับโรคมะเร็งกล่องเสียงกันให้ดีกว่านี้อีกสักนิด เพื่อที่จะได้สังเกตว่า คุณมีอาการบ่งชี้เบื้องต้นของ มะเร็งกล่องเสียง อย่าง ไอเรื้อรัง หรือเสียงแหบนานๆ อยู่หรือไม่

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562

“ไอเป็นเลือด” เกิดจากอะไร เสี่ยงโรคอะไรบ้าง?

ไอ เป็นอาการที่เจอกันได้ในโรคระบบทางเดินหายใจ ทุกคนต้องเคยมีอาการไอกันมาบ้าง ไม่ว่าจะ ไอแห้ง ๆ ไอมีเสมหะ แต่หากอาการไอไม่ได้ปกติเหมือนเคย แต่เกิด ไอเป็นเลือด ขึ้นมา นี่อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายที่กำลังคืบคลานมา

วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2562

"มะเร็งปากมดลูก" ภัยเงียบสุดอันตราย กว่าจะรู้อาจสายเกินไป

มะเร็งในผู้หญิงนับว่ามีความน่าห่วงเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งที่พบบ่อยในผู้หญิงคือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ  มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่  โดยมะเร็งที่ถือได้ว่าเป็นมะเร็งที่น่าห่วงมากที่สุดในผู้หญิงคือ มะเร็งปากมดลูก

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

ทำไมเราต้องตรวจสุขภาพ “ตา” ประจำปี?

แม้ว่าตลอดปีที่ผ่านมาเราอาจไม่พบความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา หรือการมองเห็นของตัวเองเลย แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคทางตาบางโรคไม่แสดงอาการจนกว่าจะอยู่ในขั้นที่รุนแรง ซึ่งอาจไม่สามารถรักษาให้เป็นปกติได้ ดังนั้นเราจึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตาอย่างละเอียด

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562

8 โรคอันตรายหากไม่ “ล้างมือ” ให้สะอาดจนติดเป็นนิสัย

“สุขภาพดี เริ่มต้นที่การล้างมือ” ไม่ได้เป็นประโยคลอยๆ ที่ไม่มีหลักฐานอ้างอิง เพราะนายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า “จากข้อมูลจากองค์การยูนิเซฟ พบว่าในแต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคอุจจาระร่วงประมาณ 3.5 ล้านคน และโรคปอดบวมประมาณ 25% การล้างมือที่ถูกต้องเป็นการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้อีกทางหนึ่ง โดยการล้างมือด้วยน้ำและสบู่ จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อได้ถึง 50% เป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพอนามัยที่ดี”

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562

“ถุงซีสต์แตก” เลือดออกในช่องท้อง อันตรายมากแค่ไหน?

ซีสต์ที่เกิดขึ้นในร่างกายมีหลายตำแหน่ง และหลายประเภท ที่พบกันบ่อยในผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีบุตร อาจจะเสี่ยงโรค หรือภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมดลูก และรังไข่มากกว่าคนที่เคยมีบุตรมาแล้ว และซีสต์เป็นหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในหญิงไทย หากพบก่อนรีบรักษาก่อนก็จะไม่เป็นปัญหาอะไรให้หนักใจมาก แต่หากปล่อยไว้จนซีสต์อักเสบบวม และแตกในช่องท้อง อาจอันตรายกว่าเดิมมาก

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ตาแฉะ น้ำตาไหลบ่อย ขี้ตาเยอะ เสี่ยง “ภาวะน้ำตาเอ่อ”

หากมีอาการน้ำตาไหลบ่อย ขี้ตาคล้ายๆ เมือกเหนียวสีขุ่นขาวหรือมีสีเหลือง อักเสบ บวมแดง มีหนองควรพบจักษุแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นโรคภาวะน้ำตาเอ่อ

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562

"ไข้เลือดออก" กับ 4 อาการเด่น-ความรุนแรงของโรคที่ควรสังเกต

ไข้เลือดออกคือโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี่ ที่มียุงลายเป็นพาหะ ในประเทศไทยไวรัสเดงกี่เป็นเชื้อที่ก่อโรค จึงชื่อว่าไข้เลือดออกเดงกี่ (Dengue Haemorrhagic Virus) มีรายงานครั้งแรกใน พ.ศ. 2501  ปัจจุบันไข้เลือดออกเดงกี่พบการติดเชื้อได้ในหลายประเทศ ในประเทศไทยแต่ละปีมีรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อหลายหมื่นจนถึงแสนราย โรคนี้พบมากในฤดูฝน ช่วงพฤษภาคมถึงกันยายน พบในเด็กอายุ 5-9 ปีมากที่สุด รองลงมา 10-14 ปี แรกเกิดถึง 4 ปี และ15 ปีขึ้นไป ตามลำดับ มีจำนวนทั้งชายและหญิงมีจำนวนใกล้เคียงกัน และยังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขและวงการแพทย์ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งยุงลายมี 2 ชนิด ได้แก่ยุงลายสวนและยุงลายบ้าน ที่พบกันบ่อยที่สุดคือยุงลายบ้าน พบในบ้าน บริเวณรอบบ้าน มีหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ Aedes Aegypti และเป็นยุงลายเพศเมีย หากินในเวลากลางวัน ชอบวางไข่ในน้ำนิ่งที่ค่อนข้างสะอาด และเชื้อไวรัสจะอยู่ในตัวยุงได้ตลอดชั่วชีวิตของยุงตัวนั้นประมาณ 1-2 เดือน

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562

7 พฤติกรรมทำร้าย “ไต” ทั้งที่ไม่ได้กินเค็ม

หากพูดถึงโรคไต หลายคนคงคิดออกตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ยินว่า “เพราะทานเค็มมากเกินไป” แต่จะมาบอกว่า ไม่ใช่อาหารรสเค็มเท่านั้นที่เป็นสาเหตุของโรคไต คุณอาจยังไม่ทราบ และเผลอทำร้ายไตของตัวเองไปโดยไม่รู้ตัว!

วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2562

วิธีสังเกต ลูกเป็น “ออทิสติก” หรือเปล่า?

รพ.จิตเวชนครราชสีมาฯ เตือนให้พ่อแม่สังเกตอาการผิดปกติให้เร็วที่สุด  หากพบเด็กวัย 2 เดือนไม่สบตา ไม่มองโมบายเหมือนเด็กวัยเดียวกัน ขอให้สงสัยว่าอาจเป็นออทิสติก และควรเร่งกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

รู้จักโรคระบาดจาก “สัตว์สู่คน” อันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

ปัจจุบันมีโรคติดต่ออุบัติใหม่จาก “สัตว์สู่คน” มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ หลายคนอาจยังไม่ทราบว่ามีโรคชนิดใดบ้าง โรคจากสัตว์ติดต่อสู่คนได้อย่างไร และควรระมัดระวังการติดต่อของโรคจากสัตว์ชนิดใดบ้าง มีข้อมูลจาก  มาฝากกัน

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

วิธีลดปัญหา "เชื้อรา-กลิ่นอับ" จากเสื้อผ้า-รองเท้าเปียกฝน ลดเสี่ยงโรคผิวหนัง

เสื้อผ้าและรองเท้าที่เปียกชื้นจากฝนตก ต้องทำความสะอาดอย่างถูกวิธี ช่วยลดปัญหากลิ่นอับ ปัญหาเชื้อราและไม่เสี่ยงโรคผิวหนัง

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

"วัยทำงาน" ป่วยโรค "ปวดหลัง" มากที่สุด

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ ได้พบว่าปัจจุบันวัยแรงงานเป็นโรคปวดหลังมากสุด เนื่องจากวิธีการปฏิบัติงานรวมทั้งสถานประกอบการที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของลูกจ้างเป็นส่วนใหญ่

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ฤดูเปลี่ยน-อากาศแปรปรวน ระวัง "โรคอุจจาระร่วง"

จังหวัดสมุทรปราการเตือนอากาศแปรปรวนอาหารบูดเสียได้ง่าย มีความเสี่ยงเจ็บป่วยจากโรคระบบทางเดินอาหาร ระวังโรคอุจจาระร่วง

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

"ผ่าตัดไร้แผล" ทางเลือกใหม่ของผู้ป่วย "มะเร็งปากมดลูก"

โรคมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 90 เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวีที่ติดจากการมีเพศสัมพันธ์ โรงพยาบาลราชวิถีผ่ามะเร็งปากมดลูกไร้แผล สอดกล้องตัดแค่ชิ้นเนื้อ-รักษาโอกาสตั้งครรภ์

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562

การรักษา "โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้" ด้วย CO2 LASER

อาการคัดแน่นจมูกเรื้อรัง หรือมีการอุดกั้นทางเดินหายใจบริเวณจมูก ที่เกิดจากเยื่อบุโพรงจมูกบวมอักเสบเรื้อรัง หรือ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยที่สุดในคลินิกโรคภูมิแพ้ ถึงแม้ว่าอาการคัดจมูกเรื้อรังจะไม่มีอันตรายต่อชีวิต แต่โรคนี้ก็มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เพราะในผู้ป่วยที่มีอาการคัดแน่นจมูกเรื้อรัง มักมีอาการปวดมึนศีรษะร่วมด้วยเนื่องจากมีภาวะสุญญากาศในโพรงไซนัสที่เรียกว่า Vacuum headache

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ฟันคุดคืออะไร? ทำไมต้องผ่าฟันคุด? ไม่ผ่าได้ไหม?

ฟันคุดคืออะไร

ฟันคุด คือฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก อาจจะโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ ฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง โดยปกติแล้วฟันซี่นี้ควรจะขึ้นในช่วงอายุ 18 - 25 ปี อาจโผล่ขึ้นอยู่ในลักษณะตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวระนาบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันข้างเคียงเสมอ นอกจากนี้ฟันซี่อื่น ๆ ก็อาจจะคุดได้ เช่น ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยแต่พบได้น้อยกว่าฟันกรามล่างซี่สุดท้าย

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562

เลือดออกปาก-จมูก เป็นโรคอะไรได้บ้าง?

อาการเลือดออกปากและจมูก ไม่ได้พบเห็นจากการเกิดอุบัติเหตุแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นเองได้ด้วย ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และโรคประจำตัวของแต่ละคน

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562

“โรคตาแดง” แฝงมากับฤดูฝน

เข้าสู่ฤดูฝนบรรยากาศอันแสนชุ่มฉ่ำเย็นสบาย หลายคนที่สุขภาพไม่แข็งแรงต้องเสี่ยงกับการเจ็บป่วย ซึ่งโรคตาแดงเป็นหนึ่งในโรคยอดฮิตที่คนส่วนใหญ่เป็นกันในช่วงหน้าฝน แต่เอ๊ะ !! ทำไมต้องเป็นตอนฤดูฝน ฤดูกาลอื่นเป็นไม่ได้เหรอ?

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2562

สัญญาณอันตราย "อัมพฤกษ์-อัมพาต"

โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมอง มีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นทุกปี หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุดภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง จะช่วยลดความพิการหรือเสียชีวิตได้

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562

วัยทำงาน เสี่ยง 5 ปัญหาโรคฟันที่อาจเป็นโดยไม่ทันตั้งตัว

วัยทำงานเป็นวัยที่ต้องพบปะพูดคุย สุขภาพของช่องปากจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้ามีปัญหาเรื่องกลิ่นปาก ฟันผุ เหงือกอักเสบ ฟันเหลือง ฟันแตก ฟันบิ่น เป็นต้น ทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มักจะมีพฤติกรรมการกินจุบกินจิบ การอมลูกอมทำให้เสี่ยงต่อการฟันผุ ละเลยการแปรงฟันทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบได้ การเคี้ยวฟันโดยไม่รู้ตัวขณะเครียดเสี่ยงต่อการเกิดฟันบิ่นหรือแตกหัก บางคนดื่มชากาแฟทุกวันทำให้ฟันมีคราบสีเกาะติดตามผิวฟันและซอกฟันดูแล้วไม่สวยงามเวลายิ้ม ปัญหาภายในช่องปากหลายๆ ประการเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก และทำให้เสียบุคลิกภาพ

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

“ฮีโมฟีเลีย” โรคเลือดออกง่าย ภัยเงียบจากพันธุกรรมที่ควบคุมได้

โรคฮีโมฟีเลีย หรือโรคเลือดออกง่าย เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ทำให้เด็กหลายคนเป็นตั้งแต่กำเนิด หากมีอาการเลือดออกมากเกินไป อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ จึงควรเรียนรู้วิธีควบคุมโรคให้ดีก่อนสายเกินไป

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

แผล “ร้อนใน” กับ 15 วิธีลัดช่วยให้หายเป็นแผลเร็วๆ

แผล “ร้อนใน” ที่ทำให้แสบทุกครั้งที่รับประทานอาหาร หรือแม้กระทั่งอยู่เฉยๆ ก็รู้สึกทรมาน เป็นแผลที่หลายคนน่าจะเคยเป็นกันมาบ้าง และรับรู้ถึงความทรมายของเจ้าแผลในปากนี้ได้เป็นอย่างดี บางคนเป็นบ่อย บางคนก็ไม่ค่อยเป็น สาเหตุของแผลร้อนในคืออะไร แล้วต้องทำอย่างไรถึงจะหายเร็วๆ มาดูวิธีกัน

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

วิธีดูแลตัวเองให้หายจาก "ไข้หวัด" ใน 24 ชั่วโมง

หากตื่นขึ้นมาด้วยอาการครั่นเนื้อครั้นตัว ไอ หรือจาม ดูเหมือนคุณจะโดน ไข้ หวัด เล่นงานเข้าซะแล้ว! จะทำอย่างไรให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ก่อนถึงเวลาเข้านอนอีกรอบล่ะ ทำตามคำแนะนำในการดูแลตัวเองของเราตามนี้เลย

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

หลั่งข้างนอก... เสี่ยงท้องแค่ไหน?

หลายคนมักคิดว่าวิธีการคุมกำเนิดที่ง่ายและได้ผลคือการหลั่งภายนอกหรือการหลั่งน้ำอสุจินอกช่องคลอด ทั้งที่ความจริงแล้ววิธีนี้มีโอกาสพลาดตั้งท้องสูง

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

อ้าปากแล้วปวดกราม เสี่ยง "โรคข้อต่อขากรรไกร"

ถ้ามีอาการปวด และเจ็บบริเวณข้อต่อขากรรไกร อ้าหรือขยับปากลำบาก ขากรรไกรค้าง ร่วมกับปวดศีรษะบ่อยๆ อาจเสี่ยงโรคข้อต่อขากรรไกร 

วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กรงกรรม : “เบาหวาน” ทำไมถึงเป็นแผลที่ขา-เท้า?

ฉากที่ตัวละคร “แม่ย้อย” ในละครเรื่อง “กรงกรรม” เป็นโรคเบาหวาน และมีแผลที่ขา สร้างความสะเทือนใจให้กับแฟนคลับละครหลายๆ คน แต่ทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวานถึงมีแผลขา และที่เท้าได้?

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562

MPS ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ-เยื่อพังผืด อันตรายยิ่งกว่า "ออฟฟิศซินโดรม"

คนทำงานส่วนใหญ่จะรู้จักอาการออฟฟิศซินโดรม ซึ่งจะมีอาการปวดเฉพาะจุด เช่น คอ บ่า ไหล่ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้เป็นเพียงกลุ่มย่อยของ MPS (Myofascial Pain Syndrome) หรือ อาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด  ลักษณะของอาการจะคล้ายกับออฟฟิศซินโดรม แต่อาการของ MPS จะมีอาการปวดแบบกว้างกว่า และมีความรุนแรงมากกว่า จึงเป็นภัยร้ายที่น่ากลัวกว่าออฟฟิศซินโดรม

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562

หน้ามืด-บ้านหมุน หลังก้มตัวหรือก้มหน้า เกิดจากอะไร?

เชื่อว่าหลายคน เคยมีอาการ เวียนหัวบ้าง บ้านหมุนบ้าง ก้มตัวแล้วเวียนหัว เลยขึ้นแล้วบ้านหมุน แต่อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนมักเป็นอยู่ในช่วงสั้นๆ และหาสาเหตุไม่ได้ อย่าชะล่าใจคิดว่าไม่เป็นอะไรนะ เพราะอาการเวียนหัวเหมือนบ้านหมุนอาจเป็นอาการเริ่มแรก หรือสัญญาณเตือนของโรคที่ซ่อนอยู่ในร่างกายเราได้

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562

5 โรคแทรกซ้อนอันตราย จาก “โรคเบาหวาน”

โรคเบาหวาน เป็นโรคประจำตัวของใครหลายคนที่มีทั้งสาเหตุจากกรรมพันธุ์ และพฤติกรรมในการรับประทานอาหารที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงอยู่ตลอดเวลาเป็นเวลานาน หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ อาจเสี่ยงอันตรายทั้งจากตัวโรคเบาหวานเอง ที่อาจทำให้ช็อค เป็นลม หมดสติ และอันตรายจากโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562

ปวดท้องแบบไหน “ไส้ติ่ง” ถามหา?

“ปวดท้องมากขนาดนี้ เป็นไส้ติ่งหรือเปล่า?” เราอาจจะเคยได้ยินคำถามแบบนี้กันมาบ้าง เมื่อตัวเราเอง หรือคนที่อยู่ข้างๆ เรามีอาการปวดท้องมากๆ แต่อาการปวดท้องเป็นอาการเบื้องต้นของหลายๆ โรค แบบไหนถึงจะเป็นอาการปวดท้องไส้ติ่งกันนะ