วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561

"เสื้อผ้ามือสอง" กับอันตรายก่อโรคที่เราอาจไม่ทันระวัง

อากาศที่เริ่มหนาวเย็น ประชาชนบางส่วนอาจมองหาเสื้อผ้ากันหนาวราคาย่อมเยาอย่าง "เสื้อผ้ามือสอง" แต่เสื้อผ้าเหล่านี้แฝงอันตรายที่เราไม่ทันได้คาดคิดอยู่ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561

9 สัญญาณอันตราย “มะเร็งผิวหนัง”

หากใครเป็นคนที่ไม่เคยทาครีมกันแดดออกจากบ้านเลย อาจจะอ้างว่า “ไม่เป็นไร ไม่กลัวดำ” หรือ “ดำอยู่แล้ว” ล่ะก็ บอกเลยว่าคุณคิดผิดแล้ว เพราะอันตรายจากแสงแดดไม่ได้มีแค่เพียงทำให้สีผิวคล้ำขึ้น มีกระ ฝ้า หรือมีริ้วรอยเหี่ยวย่นเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเสี่ยงต่อ “มะเร็งผิวหนัง” อีกด้วย

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561

อาการ "ขาอยู่ไม่สุข" คันขายุบยิบ ทำคุณภาพการนอนแย่

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ เผยอาการขาอยู่ไม่สุข รบกวนการนอน ทำให้นอนไม่หลับ เพื่อควบคุมอาการ และทำให้คุณภาพการนอนดีขึ้น ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์ เพื่อประเมินอาการและค้นหาสาเหตุก่อนให้การรักษา

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561

5 โรคร้ายที่วัยคุณพ่ออาจเป็นโดยไม่รู้ตัว


ผู้ชายวัยทองอย่างวัยของคุณพ่อของเรา ภายนอกอาจจะดูแข็งแรงสุขภาพดี แต่จริงๆ แล้ว อาจมีโรคร้ายแฝงอยู่ หากไม่เชื่อวันนี้ลองกลับบ้านไปถามคุณพ่อดูก็ได้ค่ะว่า ช่วงนี้สุขภาพเป็นอย่างไร มีอาการผิดปกติอะไรบ้างหรือไม่ หรือบางทีเราไม่จำเป็นต้องถาม เราก็จะสามารถสังเกตได้เองว่าคุณพ่อคนเก่งฮีโร่ของเรา แท้ที่จริงแล้วสุขภาพก็มีเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลาเช่นกัน

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561

9 วิธีป้องกัน "โรคไต" ทำได้แข็งแรงแน่นอน


โรคไตเป็นปัญหาสำคัญและมีจำนวนคนไทยเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้น จากการศึกษาโดยสมาคมโรคไต พบว่ามีการเกิดโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนหลักล้านคน แต่มีผู้ที่ทำการฟอกไตจริงๆ ในปัจจุบันมีจำนวนไม่ถึงแสนคน ดังนั้นหากจะมาดูที่วิธีป้องกันว่าโรคไตเรื้อรัง เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

5 สัญญาณอันตราย ไขมันอุดตันเส้นเลือด


ใครๆ ก็รู้ถึงอันตรายของโรคนี้ดี โดยเฉพาะคนอ้วนจะมีความเสี่ยงสูง แต่เมื่อไรเราถึงจะเริ่มรู้ตัวว่าเราอาจกำลังเป็นโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด  มีวิธีสังเกตตัวเองง่ายๆ มากฝากกันค่ะ

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561

“ถ่ายเป็นเลือด” แบบไหนเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่-ริดสีดวงทวาร


‘... ปวดอุจจาระธรรมดาๆ ก็เข้าห้องน้ำเพื่อจะถ่ายตามปกติ แต่พออุจจาระออกมา มีแต่เลือดสดๆ ออกมาเป็นถ้วยๆ เลย’
‘... ผ่านไปอีกครึ่งชั่วโมง ก็ถ่ายอีก ถ่ายไปทั้งหมด 4 ครั้งจนไม่มีแรง’
อาการเบื้องต้นของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าพบเนื้องอกที่ลำไส้ส่วนปลาย หรือเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561

6 สัญญาณเตือนภัย “มะเร็งท่อน้ำดีในตับ”


เราอาจไม่ค่อยคุ้นชื่อมะเร็งนี้นัก แต่ “มะเร็งท่อน้ำดีในตับ” เป็นประเภทของมะเร็งที่พบมากในแถบประเทศตะวันออกเฉียงใต้ ในบรรดาจำนวนป่วยมะเร็งตับทั้งหมด 80-90% มักตรวจพบเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ ดังนั้นอาการเริ่มต้นเป็นอย่างไร  มีวิธีเช็คร่างกายของตัวเอง และคนที่คุณรักมาฝากค่ะ

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

พบมากในไทย! ภาวะ “พร่องเนื้อเยื่อเซลล์ต้นกำเนิดของผิวกระจกตา” อันตรายถึงตาบอด

โรคที่เกี่ยวกับดวงตาที่เรารู้จักกันคงหนีไม่พ้น ตาแดง ตากุ้งยิง ต้อกระจก ต้อลม และยังมีอันตรายที่เกิดขึ้นได้กับดวงตาอีกมากมายที่พบในคนไทยจำนวนไม่น้อย นั่นคือภาวะพร่องเนื้อเยื่อเซลล์ต้นกำเนิดของผิวกระจกตา

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

3 ข้อควรรู้ ก่อน "ทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง"


ภูมิแพ้ (Allergy) เป็นภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาอย่างรุนแรงต่อสิ่งที่ไม่เป็นอันตราย เช่น ละอองเกสร ขนสัตว์ และอาหารบางชนิด อาการแพ้มีความรุนแรง และในบางครั้งอาจถึงแก่ชีวิตได้ สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ก็คือ การรับทราบเกี่ยวกับสิ่งที่แพ้ และ การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง เป็นวิธีหนึ่งในการบ่งชี้สารก่อภูมิแพ้ของคุณ

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

"ความเศร้าและวิตกกังวล" ผลข้างเคียงทางจิตใจของ "โรคเบาหวาน"


การมีชีวิตอยู่กับ โรคเบาหวาน มักทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยเหมือนกับการทำงานหนักๆ แบบเต็มเวลา ผู้ป่วยอาจรู้สึกท่วมท้นไปกับสิ่งที่ต้องทำมากมาย ทั้งการตรวจเลือด การกินยา การคุมคาร์โบไฮเดรต การออกกำลังกาย และการปฏิบัติตามรายการต่างๆ อย่างเคร่งครัด อาการนี้เรียกว่า ความเศร้าและวิตกกังวล ของโรคเบาหวาน ผลข้างเคียงทางจิตใจในผู้ป่วยเบาหวานไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณ แต่ยังส่งผลต่อความเป็นอยู่ดีของคุณด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

จริงหรือไม่? มีไฝเยอะ เสี่ยงมะเร็งผิวหนัง


ถึงแม้จะโล่งใจไปได้ส่วนหนึ่งว่า จำนวนผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังในประเทศไทยยังน้อยอยู่ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มี หรือไม่มีโอกาสเป็นได้เลย เพราะล่าสุดคนใกล้ตัวของเรานี่เองที่เพิ่งเข้ารับการรักษามะเร็งผิวหนัง แต่จะจริงหรือไม่ กับความคิดที่ว่า มีไฝเยอะ แปลว่าเสี่ยงต่อโรคมะเร็งผิวหนังมากกว่าคนอื่น  
สาเหตุของมะเร็งผิวหนัง
มะเร็งผิวหนังเกิดจากการที่เซลล์ผิวหนังเจริญเติบโตผิดปกติ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เซลล์ผิวหนังเจริญเติบโตผิดปกติก็ยังไม่แน่ชัด
อาการของมะเร็งผิวหนัง
อาจพบความผิดปกติของผิวหนัง เช่น
- ผิวมีจุดสีคล้ำเหมือนไฝ
- ไฝเปลี่ยนรูปร่าง เปลี่ยนสี ไฝไม่เรียบ หรือขนาดของไฝใหญ่ขึ้น
- พบผื่น หรือผิวหนังเปลี่ยนสภาพ แล้วทายาไม่หาย
- ครอบครัวมีประวัติในการเป็นมะเร็งผิวหนังมาก่อน
คนที่มีไฝเยอะ เสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังมากกว่าคนอื่น?
คนที่มีไฝเยอะ หรือมีไฝที่มีขนาดใหญ่ มากกว่าคนปกติ เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังมากกว่าคนอื่นๆ ที่มีไฝน้อย หรือไม่มีไฝเลย
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง
1. ผิวหนังรับ UVA, UVB  อัลตร้าไวโอเล็ตจากแสงแดดมากเกินไป เช่น พวกที่เล่นกีฬากลางแจ้ง ทำงานกลางแจ้งเป็นประจำ เป็นต้น
2. คนผิวขาว มีเม็ดสีที่ผิวหนังน้อย ผิวหนังจึงป้องกันอันตรายจากแสงแดดได้น้อยกว่าคนที่มีผิวสองสี หรือผิวคล้ำ
3. รับสารก่อมะเร็งอย่างต่อเนื่อง เช่น สารหนู ยาหม้อบางชนิด
4. รับเชื้อไวรัสบางประเภทที่ทำให้เกิดความผิดปกติกับผิวหนัง
5. เคยต้องฉายรังสีที่ผิวหนังบ่อยๆ
6. ภูมิคุ้มกันบกพร่องจากผลข้างเคียงของการใช้ยารักษาโรคอื่นๆ
7. มีพฤติกรรมเสี่ยงมะเร็งอื่นๆ 

มะเร็งผิวหนังไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะใครๆ ก็เป็นได้ หากมีปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติของผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเมื่อไร รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะดีที่สุดค่ะ
ที่มา:sanook

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

9 สัญญาณอันตราย โรค "นิ่วในไต"


ญาติผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งวัยทำงานหนุ่มสาวหลายคนที่อยู่รอบข้าง เริ่มเป็นโรคนี้กันมากขึ้นทุกที แต่ก่อนหากพูดถึงโรคไต ยังจะเข้าใจมากกว่า พอเป็นโรค “นิ่วในไต” หลายคนแอบสงสัยว่าเป็นอย่างไร เพราะอะไรถึงเป็น มีอาการเป็นอย่างไร  ขออนุญาตหาข้อมูลถึงสัญญาณเตือนภัย เกี่ยวกับอาการเริ่มต้นของโรคนิ่วในไต เอาไว้สังเกตตัวเองและคนที่คุณรักกันค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

สัญญาณอันตรายในผู้หญิง ประจำเดือนมากผิดปกติ เสี่ยง "มดลูกโต"


มดลูกโต โรคที่ผู้หญิงหลายคนอาจไม่เคยรู้จัก หลายคนอาจเกิดความสับสนว่าเนื้องอกมดลูกกับมดลูกโตใช่โรคเดียวกันหรือไม่ ความจริงแล้วโรคมดลูกโตกับเนื้องอกมดลูกนั้นเป็นคนละโรคกัน แต่หากประจำเดือนมากผิดปกติและมีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ อาจเป็นสัญญาณของโรคมดลูกโตได้ ที่น่ากังวลใจยิ่งกว่าคือ แม้ตัวโรคไม่มีอาการแสดง แต่ก็มีโอกาสเป็นมดลูกโตได้เช่นกัน

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

5 สัญญาณอันตราย “มะเร็งหลอดอาหาร”


ตามปกติแล้วเรามักจะคุ้นชินกับมะเร็งที่เกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สำคัญ เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก แต่อีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญ แต่เราอาจจะไม่ได้พูดถึงกันบ่อยๆ คือ “หลอดอาหาร” ที่ทำให้ผู้ที่ป่วยโรคนี้มีอาการทรมานไม่น้อยไปกว่ามะเร็งในส่วนอื่นๆ

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เช็กความเสี่ยง “กระดูกพรุน” ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุที่ต้องระวัง


หากพูดถึง “กระดูกพรุน” อาจจะนึกถึงวัยชราผมขาวที่เดินก้มๆ เงยๆ หลังงุ้มงอ และต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุงเดิน แต่จริงๆ แล้วโรคกระดูกพรุนใกล้ตัวเรามากกว่านั้น เพราะจริงๆ แล้วไม่ได้แค่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่เสี่ยงต่อโรคนี้ แล้วเราก็คงยังไม่อยากจะใช้ไม้เท้าช่วยเดินกันตั้งแต่อายุยังน้อยจริงไหม? มาเช็กกันดีกว่าว่าคุณอยู่ใน “กลุ่มเสี่ยงฎ โรคกระดูกพรุนหรือเปล่า

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ไม่ควรมองข้าม! 6 โรคฮิต คุกคามชีวิตช่วงหน้าหนาว

แม้ยังไม่มีประกาศว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ จากกรมอุตุนิยมวิทยา แต่ในหลายพื้นที่ของประเทศ รวมถึงกรุงเทพฯ ก็เริ่มสัมผัสลมหนาวกันบ้างแล้ว ไม่แปลกที่อาการป่วยไข้จะเริ่มแวะมาทักทาย โดยเฉพาะในกลุ่มของเด็กวัยกำลังโต ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีอาการป่วย หรือสุขภาพไม่แข็งแรง และโรคที่มักมากับหน้าหนาว มีดังนี้

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561

7 สัญญาณอันตราย ได้เวลารักษา “รากฟัน”


อาการปวดฟัน อาจสามารถบ่งบอกถึงอาการผิดปกติของฟันได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นฟันผุ ฟันคุด ฟันร้าว หรือเหงือกอักเสบ แต่หากเป็นอาการที่บ่งบอกว่ารากฟันของคุณได้เวลาเข้ารับการซ่อมแซมโดยด่วน มักจะมีสัญญาณอันตรายที่มากกว่าแค่ปวดฟัน

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2561

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ “ถุงยางอนามัย” ไม่ช่วย


หากคุณเป็นคนฉลาด รับรองว่า “ถุงยางอนามัย” เป็นสิ่งหนึ่งที่คุณจะไม่ยอมให้ขาดเมื่อต้องทำกิจกรรมเข้าจังหวะ เพราะนอกจากจะป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่ได้มีการวางแผนครอบครัวมาก่อน (หรือเรียกง่ายๆ ว่า ท้องในตอนที่ยังไม่พร้อม) ได้แล้ว ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้มากมาย โดยถุงยางอนามัยสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ HIV ได้มากถึง 98% เลยทีเดียว

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ตาแห้ง-แสบตา-เคืองตา อาการเริ่มต้นของอาการ "ตาติดจอ"

จักษุแพทย์เตือนหากพบอาการตาแห้งแสบเคืองตาเมื่อยตาปวดตาตามัวขณะใช้คอมพิวเตอร์ แท๊ปเล็ตหรือโทรศัพท์มือถือ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคตาที่เกิดจากการติดจอมากเกินไป

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561

8 วิธีป้องกัน "โรคบิด" ท้องเสียแบบมีเชื้อแบคทีเรีย

โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ แนะผู้ที่มีอาการปวดท้องบิดควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ สด สะอาด ดื่มน้ำที่ผ่านการกรองหรือต้มให้เดือด ถ่ายอุจจาระและกำจัดอุจจาระถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล เพื่ออนามัยที่ดี ลดเสี่ยงปัญหาสุขภาพ

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2561

ไขข้อสงสัย "พยาธิในหมู" เป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่?


ขึ้นชื่อว่าเป็นพยาธิ ไม่ว่าอย่างไรก็คงไม่มีใครอยากให้มันมาอยู่ในร่างกายของเรา จริงไหมคะ? แต่หากเราบังเอิญเจอเจ้าพยาธิเส้นยาวๆ ตัวนุ่มๆ ในเนื้อหมู หรือเครื่องในหมูระหว่างกำลังจะปรุงอาหาร หรือที่แย่กว่านั้นคือกัดเข้าปากเคี้ยวตุ้ยไปแล้วครึ่งชิ้นล่ะก็ มันจะเป็นอันตรายต่อร่างกายของเราไหม?

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561

รู้จักอาการ "ช่องปากแห้ง" หรือภาวะ "น้ำลายน้อย" พร้อมวิธีรักษา


ช่องปากแห้ง หรือภาวะน้ำลายน้อย อาจส่งผลต่อความสะอาดและการย่อยอาหารในช่องปากได้ เนื่องจากน้ำลายมีบทบาทสำคัญในการควบคุมเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในช่องปาก ฉะนั้น ถ้าใครมีน้ำลายน้อย ก็ควรศึกษารายละเอียดพวกนี้เอาไว้

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

"สะอึก" ไม่หยุด อาจเป็นสัญญาณอันตราย "หลอดเลือดสมอง"

คุณคิดว่ามีความสัมพันธ์ระหว่าง อาการสะอึก และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) หรือไม่ อาจฟังดูแปลก เนื่องจากคุณมีอาการสะอึกหลายครั้งต่อวันในขณะที่โรคหลอดเลือดสมองเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ดี อาการดังกล่าวอาจมีความสัมพันธ์กัน ให้ติดตามอ่านบทความนี้เพื่อศึกษาเพิ่มเติม

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

"ความดันโลหิตสูง" ฆาตรกรเงียบ อันตรายถึงชีวิตหากไม่รีบรักษา


ปัจจุบันความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคที่ทำให้เกิดผลแทรกซ้อนของโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งรวมทั้งหลอดเลือดที่สมองและไตด้วย จุดมุ่งหมายของการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงเพื่อลดอัตราทุพพลภาพและอัตราการตาย   ซึ่งเกิดจากภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ และหลอดเลือด การดูแลเฉพาะแต่ความดันโลหิตสูงเท่านั้นจะทำให้ได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561

สารก่อภูมิแพ้ภายในบ้าน อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม


ด้วยสภาวะแวดล้อมและมลภาวะต่างๆ ในปัจจุบันทำให้มีจำนวนผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นมากจากอดีตอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งพบทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจนี้ นอกจากจะทำให้เกิดอาการกำเริบขึ้นได้จากสารก่อภูมิแพ้และสารระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจภายนอกบ้าน เช่น ฝุ่น มลภาวะการจราจรในท้องถนน โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ แล้ว สารก่อภูมิแพ้ภายในบ้านรอบตัวเราเองที่ต้องสัมผัสในทุกวันก็เป็นสาเหตุสำคัญของอาการภูมิแพ้ ที่มักจะถูกมองข้ามไป

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

RSV ไวรัสตัวร้าย ปล่อยไว้อันตรายถึงแก่ชีวิต


เนื่องด้วยฤดูกาลที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลง เข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาว ร่างกายต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และหนึ่งในโรคสำคัญที่มีโอกาสติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการป่วยง่ายๆ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก คือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส RSV เชื้อนี้มองเผินๆ อาจเหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่ก็ไม่ควรประมาท เพราะอันตรายอาจถึงแก่ชีวิตได้

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561

คำแนะนำ “ทางการแพทย์” กับ 5 สิ่งที่ควรทำเมื่อ “อกหัก”


เราน่าจะเคยได้ยินใครหลายๆ คนเคยบอกเอาไว้ในทำนองว่า “อกหักไม่ถึงกับตาย” แต่ใครที่เคยอกหักจะเข้าใจดีว่ามันทรมานใจมากๆ จนถึงขั้นจะบ้าตายได้ กว่าที่เราๆ จะหลุดพ้นช่วงอกหักมามันยากลำบากกว่าที่ใครหลายๆ คนคิด

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561

ทำไม? ชาวออฟฟิศถึงเสี่ยงเป็น "กระเพาะปัสสาวะอักเสบ"


บางคนอาจไม่เคยเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่เชื่อว่าหลายๆ คนที่เป็นพนักงานออฟฟิศ ที่นอกจากจะเคยประสบปัญหางานยุ่งจนไม่มีเวลาไปทานข้าว หรือทานข้าวผิดเวลา ต้องลงไปทานอาหารกลางวันตอนเกือบจะเย็น หรือบางทีอาจไม่ได้ทานด้วยซ้ำ นั่นเลยทำให้คนมักเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบกันมาก นอกจากนี้ยังมีโรคไมเกรนที่เกิดขึ้นจากความเครียดและพักผ่อนไม่เพียงพอ และอีกสารพัดโรคที่ค่อยๆ ทยอยมาตามเรื่อยๆ

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เจ็บคอแบบไหน เสี่ยง “ทอนซิลอักเสบ”


เชื่อได้ว่าอาการผิดปกติในร่างกายที่ดูเหมือนจะเล็กน้อย แต่ก็น่ารำคาญ พาลจะทำให้เรากินไม่ได้นอนไม่หลับอยู่ทุกครั้งที่เป็น คงหนีไม่พ้นอาการเจ็บคอ ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บคอจากสาเหตุเล็กๆ น้อยๆ อย่างการใช้เสียงมากเกินไป หรือจากอาการไข้หวัด แต่หากเป็นอาการเจ็บคอที่มาจาก “ทอนซิลอักเสบ”มันอาจจะไม่เล็กน้อยอย่างที่คิด

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561

อันตรายจากการซื้อ "ยาหยอดตา" มาใช้เอง


กรมการแพทย์ชี้อันตรายจากการซื้อยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์มาใช้เอง เสี่ยงตาบอด แนะใช้ภายใต้การควบคุมดูแลจากแพทย์และควรใช้อย่างระมัดระวัง

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2561

5 สัญญาณอันตราย เสี่ยง “ต้อลม”


คุณผู้หญิงคุณผู้ชายที่ปัญหากับค่าสายตา จนต้องใส่แว่น หรือคอนแทคเลนส์อยู่เป็นประจำ รวมไปถึงหนุ่มสาววัยรุ่น และชาวออฟฟิศที่ใช้สายตาอยู่หน้าจอคอมมากเกินไป อาจเคยมีอาการเคืองตา ตาแห้ง แสบตามาบ้างใช่ไหมคะ บางทีอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือน “โรคต้อลม” ที่อาจต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็ได้

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เทคโนโลยี "เลเซอร์" รักษาอาการ "ภูมิแพ้"


โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่พบมากในสังคมไทย ซึ่งจากสถิติของสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย พบโรคภูมิแพ้ในเด็กไทยสูงขึ้นร้อยละ 38 พบในผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 20 ทำให้ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มากขึ้น 3 - 4 เท่า เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา

สาเหตุของการเกิดภูมิแพ้

  • กรรมพันธุ์ ซึ่งหากพ่อเเม่มีประวัติของโรค ลูกจะมีโอกาสเป็นถึงร้อยละ 75 
  • การเปลี่ยนเเปลงของสิ่งเเวดล้อม
  • การไม่ออกกำลังกาย ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเเอ
  • การรับประทานอาหารจานด่วน หรือฟาสต์ฟู้ด ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน
  • มลภาวะจากอุตสาหกรรม การจราจร และควันบุหรี่
  • การเลี้ยงสัตว์
  • การปูพรม
  • การติดเครื่องปรับอากาศ ซึ่งทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้เชื้อไรฝุ่นเจริญเติบโตได้ดี 
ทั้งนี้โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายมีความผิดปกติต่อสารก่อภูมิแพ้ ส่งผลให้มีอาการผิดปกติในสารที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ อาทิ ไรฝุ่น เชื้อราในอากาศ อาหาร ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ ซึ่งในร่างกายคนปกติ จะเเพ้สารก่อภูมิแพ้ ได้น้อยมาก หรืออาจจะไม่มีอาการ แต่สำหรับในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อาการจะเกิดขึ้นแตกต่างกันออกไป  ความรุนแรงไม่เท่ากัน เเม้ว่าจะเป็นสารก่อภูมิแพ้ชนิดเดียวกันก็ตาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของสารก่อภูมิแพ้ ที่ได้รับ เเละการตอบสนองของอวัยวะนั้นๆ  โดยโรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่ไม่หายขาด  เเต่เป็นโรคที่มีการเเปรปรวนในตัวเองสูง หากไม่มีการดูเเลสุขภาพโรคภูมิแพ้ก็อาจจะกลับมาเป็นได้ใหม่  สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นภูมิแพ้ การออกกำลังกายให้ร่างกายเเข็งเเรงอยู่เสมอ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง

เลเซอร์ รักษาอาการภูมิแพ้

อย่างไรก็ตาม สำหรับในบางคนที่ต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง จะมีเทคโนโลยีทางการเเพทย์ที่สามารถรักษาอาการได้ คือ การรักษาโดยการใช้เลเซอร์ ซึ่งจะทำการยิงเลเซอร์ไปที่ตัวเซ็นเซอร์ที่รับและสัมผัสได้ไวในโรคภูมิแพ้ จะอยู่ที่ปลายจมูกบริเวณด้านหน้า เรียกว่า Inferior Turbinate เพื่อไปทำลายตัวรับสัญญาณภูมิแพ้ที่อยู่บริเวณดังกล่าวให้ทำงานน้อยลง โดยจะไม่เกิดปฏิกิริยากระตุ้นสารก่อภูมิแพ้อีก และยังช่วยลดขนาด จำนวนของเส้นเลือดที่อยู่ใต้เยื่อบุโพรงจมูก ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้โล่งขึ้น มีน้ำมูกน้อยลง โดยพลังงานเลเซอร์ จะทำให้เนื้อเยื่อเเข็งตัว จากนั้นจะมีการปรับสภาพของเส้นเลือดเเละเยื้อบุ และประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีสะเก็ดแผล แล้วเพียงกลับมาเอาสะเก็ดออก ก็จะมีความรู้สึกโล่งจมูก อาการภูมิแพ้ลดลง ปริมาณการใช้ยาก็ลดลง 
ทั้งนี้หลังการรักษาคนไข้เพียงระวังเรื่องการว่ายน้ำ เเละการเเคะจมูกเเรงๆ  เพราะอาจส่งผลให้เเผลหายช้าได้  ซึ่งการยิงเลเซอร์รักษาอาการภูมิแพ้ สามารถรักษาผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีเป็นต้นไป
ที่มา:sanook

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561

แพทย์เตือนอาการ "ตาแห้ง" กับเด็กที่จ้องหน้าจอนานเกินไป


ปัจจุบัน เด็กๆ ล้วนติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต รวมไปถึงอุปกรณ์ที่มีหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ปัญหาก็คือ อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ดีสำหรับดวงตาของพวกเขา

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ปวดหัวบ่อยแค่ไหน ถึงเรียกว่า “ผิดปกติ”


ใครๆ ก็ต้องปวดหัวกันมาบ้างแล้ว ปวดหัวได้ทุกที่ทุกเวลาทุกสถานการณ์ ตั้งแต่เครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ อากาศร้อน เป็นไข้ และอื่นๆ ทุกเพศทุกวัยมีอาการปวดหัวได้หมด เพราะปวดหัวเป็นเพียงอาการ ไม่ใช่โรค คนจึงมองข้ามไปว่าทานยาหายก็จบ แต่จริงๆ แล้วอาการปวดหัวถือเป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561

10 สาเหตุที่ทำให้ “เท้าบวม”


แม้ว่าเท้าจะเป็นอวัยวะที่สำคัญมากที่สุดอวัยวะหนึ่งของร่างกาย เพราะเราใช้งานเท้าในแต่ละวันค่อนข้างหนัก และน้อยคนที่จะดูแลเอาใจใส่เท้าได้ดีเท่ากับอวัยวะอื่นๆ นอกจากเราจะใช้เท้าในการก้าวเดิน และคอยรองรับน้ำหนักของเราทั้งตัวทุกวันแล้ว เท้ายังเป็นอวัยวะที่ส่งสัญญาณผิดปกติของร่างกายเราได้อย่างแม่นยำอีกด้วย เมื่อเท้าบวมขึ้นมา แสดงว่าร่างกายของคุณมีอะไรผิดปกติแล้วล่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2561

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

8 เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบบี


ถ้าพูดถึงโรค “ไวรัสตับอับเสบบี” เชื่อว่าหลายคนรู้จัก เพราะเราเรียนและได้ยินชื่อโรคนี้อยู่ตลอด แม้แต่รายชื่อวัคซีนก็มีวัคซีนของโรคไวรัสตับอับเสบบีเป็นวัคซีนแรกๆ ที่เด็กต้องได้รับนอกเหนือไปจากวัคซีนป้องกันโรควัณโรค บาดทะยัก และโปลีโอ

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เรอบ่อย หลังกินอาหาร แค่ "อาหารไม่ย่อย" หรือ "กรดไหลย้อน"


เรอบ่อย หลังกินอาหาร เป็นอาการที่ทำให้หลายคนกังวลใจว่าจะเป็นเพราะอาหารไม่ย่อย กรดเกินในกระเพาะ หรือเป็นเพราะโรคกรดไหลย้อนกันแน่

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เตือน! "ขาโก่ง" พบบ่อยในเด็กก่อน 2 ขวบ ไม่รีบรักษาเสี่ยงขาผิดรูป


โรงพยาบาลเลิดสินเตือนขาโก่งพบได้บ่อยในเด็กอายุก่อน 2 ขวบ หากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงในอนาคต ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

"เหงื่อออกมือ" แบบไหนถึงอันตราย-ผิดปกติ?


หากพูดถึงอาการ “เหงื่อออกมือ” หลายคนคงนึกถึง โรคหัวใจ ขึ้นมาทันที เพราะอาจจะเคยได้ยินได้ฟังมา แต่ในความเป็นจริงแล้วการที่มีเหงื่อออกบริเวณมือมากกว่าปกติ โดยไม่สัมพันธ์กับอากาศร้อน ความเครียด หรือการออกกำลังกาย  อาจเป็นภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (Hyperhidrosis)  ที่มีสาเหตุจากต่อมเหงื่อและประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous system) ที่ควบคุมต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติ

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

10 สัญญาณอันตราย โรค “ตับแข็ง”


ตับ เป็นอวัยวะที่ช่วยทำลายสารพิษ หรือของเสียออกจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อโรค สร้างสารที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว และสร้างน้ำดีเพื่อย่อยอาหาร และดูดซึมวิตามินที่ละลายในน้ำมัน เมื่อตับมีหน้าที่ทำงานหลายอย่างขนาดนี้ หากตับพัง หรือทำงานผิดปกติเมื่อไร ร่างกายย่อมรวนอย่างรวดเร็วแน่นอน หากเป็นโรคตับ จะมีสัญญาณเตือนภัยอะไรบ้าง มาเช็คกันค่ะ

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

จริงหรือไม่? ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ เสี่ยง “กระเพาะปัสสาวะอักเสบ”


บางคนอาจจะเคยทราบมาว่า การดื่มน้ำน้อยเกินไป รวมไปถึงพฤติกรรมกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ เป็นสาเหตุที่สำคัญของโรค “กระเพาะปัสสาวะอักเสบ” แต่สำหรับคุณผู้หญิงแล้ว อาจมีอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เสี่ยงโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบมากขึ้น

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

7 สัญญาณอันตราย เสี่ยง "มะเร็ง"


นพ.วีรวุฒิ  อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งจำเป็นต้องพิจารณาตามความเสี่ยงของแต่ละบุคคล เริ่มจากการซักประวัติทั่วไปเรื่องพฤติกรรมที่ไม่ดีสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง และมีอาการแสดงของ 7 สัญญาณอันตรายต่อเนื่องนานเกิน 2 สัปดาห์

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

“คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม” อันตรายจากการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ


ด้วยการงานที่รัดตัวตลอดเวลาของวัยทำงาน อาจทำให้ใครหลายคนต้องนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวันโดยแทบไม่มีเวลาจะลุกไปไหน ทานข้าวยังนั่งทานหน้าคอม พฤติกรรมแบบนี้จึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของโรคต่างๆ โดยที่เราอาจไม่รู้ตัว หนึ่งในโรคนั้นคือ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เทคโนโลยีการรักษา "แผลที่เท้า" ของผู้ป่วย "เบาหวาน"


แผลเบาหวานที่เท้า   (Diabetic Foot Ulcer)

  1. 85% ของผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกตัดเท้ามีแผลบริเวณเท้ามาก่อน
  2. 40% - 70% ของโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการถูกตัดขา/เท้า
  3. ทุกๆ 30 วินาทีมีผู้ป่วยเบาหวานสูญเสียเท้าจากการถูกตัดขา/เท้า
  4. 1 ใน 6 รายของผู้ป่วยเบาหวาน ต้องเคยมีบาดแผลอย่างน้อย 1 ครั้ง

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

อันตราย! ท้องเสีย ท้องร่วง แต่ถ่ายไม่บ่อย เสี่ยง “เชื้อบิด”


ส่วนใหญ่แล้วอาการท้องเสียจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ หรืออาการถ่ายเหลวที่ถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายบ่อยมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป แต่ไม่มีอาการอะไรอีกนอกจากอาการอ่อนเพลียจากการสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว อาการแบบนี้มักไม่เป็นอันตรายร้ายแรงหากสามารถหยุดถ่ายได้เองในเวลาต่อมา เพียงแต่ต้องคอยดื่มน้ำเกลือแร่เป็นระยะๆ จนกว่าจะหยุดถ่ายเท่านั้น
แต่อาการท้องเสียอีกประเภทหนึ่ง คือ อาการท้องเสียที่อาจมีมูกเลือดปน ปวดท้องแบบปวดบิดทรมาน แต่ละครั้งถ่ายปริมาณไม่มาก และอาจมีอาการอาเจียน ปวดศีรษะ มีไข้ กรณีนี้อาจเสี่ยงติดเชื้อ และหนึ่งในนั้นอาจเป็นเชื้อบิด

โรคบิด เกิดจากอะไร?

คืออาการท้องเสียอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรียชิเกลลา (Shigella) หรือเกิดจากติดเชื้อจากสัตว์เซลล์เดียวอย่างตัวอะมีบา (E. histolytica) โดยอาจมีสาเหตุจากการทานอาหารที่มีเชื้อแบคมีเรียเหล่านี้เข้าไปในร่างกาย
โรคบิด แบ่งออกเป็น ชนิดมีตัว ที่เกิดจากสัตว์เซลล์เดียวอันมีชื่อว่า อะมีบา มักพบในเขตร้อนชื้น และโรคบิดชนิดไม่มีตัว ที่เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มชิเกลลา โดยทั้ง 2 ชนิดสามารถพบได้ในแหล่งที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดีพอ

อาการของโรคบิด

โรคบิดมีอาการคล้ายกับอาการท้องเสียทั่วไป คือการถ่ายเหลว แต่อาจถ่ายในแต่ละครั้งไม่มากนัก และอาจไม่ได้ถ่ายในจำนวนครั้งที่มากนักเช่นกัน แต่มีอาการอันตรายอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส อาเจียน ปวดท้องเกร็งเป็นพักๆ อ่อนเพลีย ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

การรักษาโรคบิด

ผู้ป่วยโรคบิดอาจมีความรุนแรงของอาการในแต่ละอย่างไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ และสภาพร่างกายโดยรวมของผู้ป่วยเอง แต่อย่างไรเมื่อมีไข้ อาเจียน และถ่ายมากจนอ่อนเพลีย ควรได้รับยาลดไข้ และฆ่าเชื้อจากแพทย์ หรือบางรายอาจได้รับน้ำเกลือ หรือน้ำเกลือแร่ชนิดผงเพื่อลดความอ่อนเพลียของร่างกาย นอกจากนี้หากมีเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย ควรได้รับการตรวจจากแพทย์อย่างละเอียดเพื่อติดตามอาการว่าแบคทีเรียจะไปทำร้ายส่วนต่างๆ ภายในร่างกายอีกหรือไม่ เพราะหากไม่ได้รับยาฆ่าเชื้ออย่างทันท่วงที อาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจนทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ลำไส้อักเสบ เกิดฝีในตับ และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อันตรายมากกว่าเดิมได้ ดังนั้นหากมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้องเกร็ง อาเจียน และมีไข้ ควรรีบไปโรงพยาบาลจะดีที่สุด

การป้องกันโรคบิด

  1. หลีกเลี่ยงการทานอาหารจากแหล่งผลิต ร้านอาหาร หรือสังเกตอุปกรณ์ในการทำอาหารที่ไม่สะอาด ไม่ได้มาตรฐาน
  2. ล้างมือ ล้างอุปกรณ์ในการทำ และทานอาหารให้สะอาด
  3. แยกอุปกรณ์ในครัวที่ใช้กับของดิบ กับของที่ปรุงสุกแล้วออกจากกัน อย่าใช้ร่วมกันโดยเด็ดขาด เช่น มีด เขียง ชาม จาน เป็นต้น
  4. หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น
  5. ดื่มน้ำจากแหล่งผลิตที่สะอาด และไว้ใจได้เท่านั้น
  6. หากมีความจำเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่ที่สุขลักษณะไม่ค่อยดี ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งของบริเวณนั้นโดยตรง เช่น ก๊อกน้ำ ลูกบิดประตู และอาหารต่างๆ
ที่มา:sanook